เมื่อวันที่ 22 กันยายน ที่ผ่านมา ตำรวจ ปอศ. เผยผลการดำเนินการตรวจค้นองค์กรธุรกิจที่ต้องสงสัยละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ตั้งแต่ต้นปี 2554 ณ ห้องประชุมกาญจนาวิเศษ อาคาร 1 ชั้น 3 สำนักงาน บก.ปอศ. ถ.สาธร พร้อมแนะนำให้โรงงานและองค์กรธุรกิจต่างๆ ในเขตนิคมอุตสาหกรรม หันมาใช้ซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้องและใช้ภายในกรอบกฎหมายลิขสิทธิ์เพื่อป้องกันปัญหาทางกฎหมายที่อาจเกิดขึ้นได้ พ.ต.อ. ชัยณรงค์ เจริญไชยเนาว์ รองผู้บังคับการและโฆษกของบก. ปอศ. กล่าวว่า "ตั้งแต่ต้นเดือน มกราคม ถึง สิ้นเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2554 มีการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์บนเครื่องพีซี รวม 2,715 เครื่อง รวมมูลค่าซอฟต์แวร์ที่ถูกละเมิดลิขสิทธิ์ เป็นเงินทั้งสิ้น 355.4 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าตัวเลขในระยะเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว จากการตรวจค้นพบการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์บนเครื่องพีซี รวม 2,087 เครื่อง รวมมูลค่าซอฟต์แวร์ที่ถูกละเมิดลิขสิทธิ์ เป็นเงินทั้งสิ้น 224.9 ล้านบาท"
กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก. ปอศ.) ได้รับข้อร้องเรียนจากบริษัทเจ้าของลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์หลายราย ให้ตำรวจดำเนินการสืบสวนเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในโรงงานและองค์กรธุรกิจในเขตนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ “ผมจะแนะนำผู้ประกอบเสมอว่าให้ปฏิบัติตามกฎหมายลิขสิทธิ์และเลือกใช้แต่ซอฟต์แวร์แท้ที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น เพื่อประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจและเพื่อป้องกันปัญหาทางกฎหมายที่อาจเกิดขึ้นได้” พ.ต.อ. ชัยณรงค์ เจริญไชยเนาว์ รองผู้บังคับการและโฆษกของบก. ปอศ. กล่าว
โดยภาพรวมแล้วองค์กรธุรกิจหลายแห่งที่ บก. ปอศ. ดำเนินการสืบสวนอยู่ในเวลานี้มีรายรับเกินกว่า 100 ล้านบาท ต่อปี และบางบริษัทมีรายรับถึงกว่า 1,000 ล้านบาท ต่อปี กรณีที่ถูกตรวจค้นเมื่อเร็วๆ นี้ เช่น บริษัทร่วมทุนระหว่างไทย-เยอรมัน-สิงคโปร์ ที่มีรายรับ 185 ล้านบาท และบริษัทร่วมทุนระหว่างเวอร์จิน ไอร์แลนด์-ญี่ปุ่น ที่มีสินทรัพย์ร่วม 260 ล้านบาท การใช้แต่ซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้องและปฏิบัติตามกฎหมายลิขสิทธิ์ เปรียบเสมือนมีเกราะป้องกันให้ผู้ประกอบการ ปลอดภัยจากการร้องเรียนจากเจ้าของลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ ตลอดจนมัลแวร์และความเสี่ยงอื่นๆในด้านความปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์ “ราคาที่ต้องจ่ายเพื่อปรับเปลี่ยนมาใช้ซอฟต์แวร์แท้ที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้องนั้นคุ้มกับความสบายใจที่ได้รับ” พ.ต.อ. ชัยณรงค์ กล่าว
“นอกจากนี้ยังเป็นการแสดงออกถึงความซื่อตรงด้วย ผมเชื่อมั่นว่าองค์กรธุรกิจไทยทุกแห่งสามารถประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจได้โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยซอฟต์แวร์เถื่อน และผู้ค้าด้านธุรกิจซอฟต์แวร์ ควรมีการลดราคาซอฟต์แวร์ให้ถูกลงกว่าเดิมที่เป็นอยู่ จัดโปรโมชั่นซอฟต์แวร์ให้กับสมาคมหรือองค์กรที่ซื้อลายเซ่นจำนวนมากในราคาที่ลดลง และรับคนไทยเข้าทำงานในองค์กรซอฟต์แวร์บ้างหรือมาเปิดสาขาในประเทศไทย"
ประเทศไทยตั้งเป้าว่าจะชิงตำแหน่งประเทศที่ลดอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ลงได้เร็วที่สุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มาจากฮ่องกง ตลอดระยะเวลาสี่ปีที่ผ่านมา อัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในประเทศไทยลดลงอย่างต่อเนื่องจากร้อยละ 80 ในปีพ.ศ. 2549 เหลือร้อยละ 73 ในปีพ.ศ. 2553 ซึ่งแสดงถึงแนวโน้มที่องค์กรธุรกิจต่างๆ หันมาใช้ซอฟต์แวร์แท้กันมากขึ้น
อัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในประเทศไทย ลดลงอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ปัจจุบันประเทศไทยเป็นรองเพียงฮ่องกง ในฐานะประเทศที่มีการลดอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ลงได้เร็วที่สุดในเอเชียแปซิฟิก และได้ตั้งเป้าเป็นที่หนึ่งในภูมิภาคเร็วๆ นี้
p { margin-bottom: 0.21cm; }
ปี พ.ศ. |
อัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในประเทศไทย* |
2553 |
73% |
2552 |
75% |
2551 |
76% |
2550 |
78% |
2546 – 2549 |
80% |
-
ไทยตกลงหนึ่งอันดับ ด้านความสามารถทางการแข่งขันของอุตสาหกรรมไอที< ก่อนหน้า
-
อบรม พ.ร.บ. ว่าด้วยกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ 2550 ฟรี!!!ต่อไป >