ตำรวจ บก.ปอศ. เข้าตรวจค้นบุกจับ 20 บริษัทใช้ซอฟต์แวร์ผิดกฎหมาย

ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน
 

เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2558 ที่ผ่านมา มีรายงานข่าวจากฝ่ายประสานงานเรื่องการเข้าตรวจค้นและบุกจับองค์กรที่ละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ว่า องค์กรธุรกิจกว่า 20 แห่ง ถูกเข้าตรวจค้นและจับกุมในข้อหาใช้ซอฟต์แวร์โดยไม่มีสัญญาอนุญาต ภายหลังจากที่เปิดสัปดาห์แรกของปี 2558 โดยมีสำนักงานตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพฯ ปทุมธานี และราชบุรี ซึ่งได้กลายเป็นศูนย์กลางของการเข้าตรวจค้นและจับกุม ภายหลังจากเจ้าหน้าที่ตำรวจได้รวบรวมหลักฐานยืนยันการใช้ซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายของออโต้เดสก์ (Autodesk) แดสซอลท์ ซิสเต็มส์ (Dassault Systems) ไมโครซอฟท์ (Microsoft) และไทยซอฟต์แวร์เอ็นเตอร์ไพรส์ (Thai Software Enterprise) ในจำนวนนี้ รายใหญ่ที่สุด คือ บริษัทอสังหาริมทรัพย์พร้อมเครื่องพีซี 30 เครื่อง ที่ทั้งหมดพบว่ามีซอฟต์แวร์ดาวน์โหลดอยู่โดยไม่มีสัญญาอนุญาต เพื่อให้พนักงานใช้ทำงาน รวมถึงซอฟต์แวร์ของนักพัฒนาชาวไทย รองลงมา ได้แก่ บริษัทที่มีชาวฝรั่งเศสและฮ่องกงเป็นผู้ถือหุ้นโดยตั้งอยู่ในชลบุรี...

 

เจ้าหน้าที่ตำรวจกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก.ปอศ.) ให้คำมั่นว่า จะเดินหน้าปราบปรามองค์กรธุรกิจที่ละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ ผลสำรวจของไอดีซี (IDC) พบว่าร้อยละ 71 ของซอฟต์แวร์ที่ดาวน์โหลดบนเครื่องพีซีในประเทศไทยในปี 2557 เป็นซอฟต์แวร์ที่ไม่มีสัญญาอนุญาต

 

“เรากำลังบังคับใช้กฎหมายและปกป้องลิขสิทธิ์ของนักพัฒนาซอฟต์แวร์” พ.ต.อ.สรรักษ์ จูสนิท รอง ผบก.ปอศ. รักษาราชการแทน ผบก.ปอศ. กล่าว “การใช้ซอฟต์แวร์โดยไม่มีสัญญาอนุญาตหรือการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์เป็นรูปแบบหนึ่งของการลักทรัพย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อองค์กรธุรกิจที่มีรายได้มหาศาลหลีกเลี่ยงที่จะจ่ายเงินเพื่อใช้ซอฟต์แวร์อย่างถูกต้องตามกฎหมาย บริษัทซอฟต์แวร์ของไทยอยู่ในกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ด้วยเช่นกัน เราต้องการให้องค์กรธุรกิจตรวจสอบสินทรัพย์ซอฟต์แวร์และเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างละเอียด รวมถึงกำกับดูแลตัวเองเพื่อให้แน่ใจว่าไม่ได้ใช้ซอฟต์แวร์ผิดกฎหมาย องค์กรธุรกิจที่ไม่ได้กำกับดูแลตัวเองและละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์จะเสี่ยงต่อการถูกเข้าตรวจค้นและจับกุม” พ.ต.อ.สรรักษ์ กล่าว

 

ต่อไปนี้คือกลุ่มอุตสาหกรรมที่ถูกเข้าตรวจค้นและจับกุมตั้งแต่ต้นปี ได้แก่ บริษัทในกลุ่มก่อสร้าง สถาปนิก อุตสาหกรรมการผลิต วิศวกรรม ไอทีและโทรคมนาคม ออกแบบ และอุตสาหกรรมผลิตระบบไฟฟ้า ในปี 2557 เจ้าหน้าที่ตำรวจได้เข้าตรวจค้นและจับกุมบริษัทเกือบ 200 แห่งในข้อหาใช้ซอฟต์แวร์โดยไม่มีสัญญาอนุญาต ทั้งนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ให้คำมั่นว่าจะเพิ่มความเข้มข้นในการปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในปี 2558 เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล

 

เจ้าหน้าที่ตำรวจยังกล่าวด้วยว่ายังคงได้รับแจ้งเบาะแสการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ภายในองค์กรธุรกิจเป็นจำนวนมากอย่างต่อเนื่อง ในทันทีที่การสืบสวนยืนยันว่ามีการกระทำความผิดจริง จะเข้าตรวจค้นและจับกุมทันที

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

“ซอฟต์แวร์และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องเป็นส่วนสำคัญของระบบเศรษฐกิจดิจิทัล ดังนั้นเราจำเป็นต้องเดินหน้าปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมทางกฎหมายที่ดีที่จะสนับสนุนการเติบโตของนวัตกรรมในระบบเศรษฐกิจดิจิทัล” พ.ต.อ.สรรักษ์ กล่าว

 

“นอกจากนี้ ยังเป็นการป้องกันความเสี่ยงที่เป็นภัยไซเบอร์โดยมีสาเหตุมาจากการใช้ซอฟต์แวร์โดยไม่มีสัญญาอนุญาตด้วย”

 

บริษัทโดยเฉลี่ยที่ถูกจับกุมในปี 2557 มีรายได้ต่อปีประมาณ 235 ล้านบาท ชี้ให้เห็นว่าแม้แต่องค์กรธุรกิจที่มั่งคังและมีขนาดธุรกิจที่ใหญ่ในประเทศไทยยังคงทำผิดกฎหมายลิขสิทธิ์ที่ปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาด้านซอฟต์แวร์อย่างต่อเนื่อง เจ้าหน้าที่ตำรวจ บก.ปอศ. ขอให้ผู้นำองค์กรธุรกิจตรวจสอบสถานะของสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ์ซอฟต์แวร์ หรือไลเซ้นต์ เพื่อให้แน่ใจว่าไม่ได้ทำผิดกฎหมาย พร้อมระบุว่าการแก้ปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในองค์กรธุรกิจ จำเป็นต้องได้รับความร่วมมืออย่างจริงจังจากผู้บริหาร โดยต้องคิดว่าการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์คือความเสี่ยงอย่างหนึ่งขององค์กรเหมือนกัน

 

Share this post

Submit to FacebookSubmit to TwitterSubmit to LinkedIn