BSA สรุปผลสำรวจ พบอัตราการใช้งานซอฟต์แวร์โดยไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ์ในประเทศไทย ลดลงจากเดิมมาอยู่ที่ร้อยละ 69

ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน
 

เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2559 ที่ผ่านมา บีเอสเอหรือพันธมิตรซอฟต์แวร์ เผยสรุปผลสำรวจของระบุผู้ใช้คอมพิวเตอร์ในประเทศไทยยังคงใช้ซอฟต์แวร์โดยไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ์ และมีจำนวนมากในระดับที่น่าเป็นห่วง ถึงแม้ซอฟต์แวร์ที่ไม่ได้รับสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ์จะทำให้ผู้ใช้ตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะถูกจู่โจมทางไซเบอร์ก็ตาม

 

ผลสำรวจที่มีชื่อว่า Seizing Opportunity Through License Compliance พบว่า ในประเทศไทย จำนวนของซอฟต์แวร์ที่ติดตั้งอยู่บนเครื่องคอมพิวเตอร์โดยไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ์อย่างถูกต้อง ยังมีอยู่สูงถึงร้อยละ 69 โดยลดลงมา 2 จุด เมื่อเทียบกับการสำรวจในปี พ.ศ. 2556 ที่ผ่านมา

 

อัตราที่ลดลงดังกล่าวส่วนหนึ่งเกิดจากการเติบโตที่ลดลงของตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ทั้งในกลุ่มผู้ใช้ที่เป็นองค์กรธุรกิจและกลุ่มผู้ใช้ที่เป็นบุคคลทั่วไป แต่ในการเติบโตที่ลดลงดังกล่าว กลับพบว่าสัดส่วนของผู้ใช้งานที่เป็นบุคคลทั่วไปขยายตัวเพิ่มขึ้น สภาวะดังกล่าวมีผลทำให้อัตราการใช้ซอฟต์แวร์โดยไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ์ลดลงอยู่บ้าง แต่การลดลงส่วนใหญ่แล้วเกิดจากการบังคับใช้กฎหมายลิขสิทธิ์ที่เข้มข้นมาก

 

“สิ่งที่สำคัญมากสำหรับองค์กรธุรกิจ คือ ต้องรู้ว่ามีซอฟต์แวร์อะไรบ้างที่ติดตั้งและใช้งานอยู่ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขององค์กร” วิคตอเรีย เอสไพเนล ประธานและเจ้าหน้าที่ผู้บริหารระดับสูงของบีเอสเอ │พันธมิตรซอฟต์แวร์ กล่าว

 

“ซีไอโอจำนวนมากไม่รู้เกี่ยวกับซอฟต์แวร์ทั้งหมดที่ติดตั้งอยู่ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขององค์กรตนเอง หรือไม่รู้ด้วยซ้ำว่าซอฟต์แวร์นั้นถูกกฎหมายหรือไม่”

 

ผลสำรวจซึ่งครอบคลุมทั้งกลุ่มผู้ใช้งานที่เป็นบุคคลทั่วไป ผู้จัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และผู้ใช้ที่เป็นองค์กรธุรกิจ พิสูจน์ให้เห็นว่าการใช้งานซอฟต์แวร์โดยไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ์ ยังคงอยู่ในอัตราที่สูง และผู้ใช้งานทั้งที่เป็นบุคคลทั่วไปและองค์กรธุรกิจกำลังตกอยู่ในความเสี่ยง เพราะมีความสัมพันธ์ที่ชัดเจนระหว่างการถูกจู่โจมทางไซเบอร์และการใช้ซอฟต์แวร์ที่ไม่ได้รับสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ์ ที่ใดที่มีการใช้งานซอฟต์แวร์โดยไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ์ จะมีโอกาสสูงมากที่จะถูกมัลแวร์จู่โจม และต้นทุนที่ต้องใช้ไปกับการจัดการในกรณีที่ถูกมัลแวร์จู่โจมอาจสูงเกินความคาดหมาย เฉพาะในปี 2558 องค์กรธุรกิจมีต้นทุนที่เป็นค่าใช้จ่ายสูงกว่า 4 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ สำหรับจัดการกับกรณีที่ถูกจู่โจมทางไซเบอร์

นอกจากนี้ ผลสำรวจยังพบว่า

• ร้อยละ 39 ของซอฟต์แวร์ที่ติดตั้งบนเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วโลกในปี 2558 ไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ์อย่างถูกต้อง ปรับตัวลดลงจากร้อยละ 43 ในปี 2556

• แม้แต่ในกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญ ยังพบอัตราการใช้งานซอฟต์แวร์โดยไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ์ในระดับที่สูงอย่างน่าตกใจ โดยอยู่สูงถึงร้อยละ 25 สำหรับภาคธนาคาร ประกัน และบริษัทซื้อขายหลักทรัพย์

• ซีไอโอมีการประเมินว่าร้อยละ 15 ของพนักงานของพวกเขาทำการติดตั้งซอฟต์แวร์ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์เองโดยที่พวกเขาไม่ทราบ ดูเหมือนว่าซีอีโอเหล่านั้นจะมีการประมาณการที่ต่ำเกินไป เพราะจากการสำรวจพบว่าร้อยละ 26 ของพนักงานยอมรับว่าพวกเขาติดตั้งซอฟต์แวร์โดยไม่ได้รับอนุญาตบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์เอง นอกเหนือจากรายงานตัวเลขเหล่านี้แล้ว การสำรวจยังพบความตื่นตัวอย่างมากต่อปัญหาต่างๆ ดังต่อไปนี้

• บรรดาซีไอโอต่างยอมรับว่าสิ่งที่พวกเขากังวลมากที่สุด คือ การสูญหายของข้อมูลในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ขึ้นกับระบบความมั่นคงปลอดภัยของเครือข่ายคอมพิวเตอร์

• ซีไอโอเหล่านี้ยังกล่าวด้วยว่าการหลีกเลี่ยงภัยคุกคามต่อระบบความมั่นคงปลอดภัย คือ เหตุผลสำคัญที่ทำให้ต้องมั่นใจว่าซอฟต์แวร์ที่ใช้งานอยู่ถูกต้องตามกฎหมาย และมีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ์อย่างถูกต้องครบถ้วน

• การสำรวจในกลุ่มพนักงาน พบว่าร้อยละ 60 มีการกล่าวถึงความเสี่ยงต่อระบบความมั่นคงปลอดภัยที่มีสาเหตุมาจากซอฟต์แวร์ที่ไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ์ และสิ่งนั้นคือเหตุผลสำคัญที่ต้องใช้ซอฟต์แวร์ที่ถูกต้องตามกฎหมายและมีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ์อย่างถูกต้องครบถ้วน

รายงานยังเพิ่มเติมด้วยว่าองค์กรธุรกิจสามารถบรรเทาความเสี่ยงที่มีต่อระบบความมั่นคงปลอดภัยของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ อันมีสาเหตุมาจากการใช้ซอฟต์แวร์โดยไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ์ได้ โดยการจัดหาซอฟต์แวร์ทั้งหมดจากแหล่งที่ถูกกฎหมาย และสร้างระบบการบริหารจัดการสินทรัพย์ซอฟต์แวร์ขึ้นภายในองค์กร องค์กรที่มีการใช้ระบบการบริหารจัดการสินทรัพย์ซอฟต์แวร์อย่างมีประสิทธิภาพ จะทราบว่ามีซอฟต์แวร์ใดบ้างในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และเป็นซอฟต์แวร์ที่ถูกกฎหมายและมีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ์อย่างถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ นอกจากนั้น จะสามารถใช้งานซอฟต์แวร์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและเหมาะสมกับองค์กร มีนโยบายและขั้นตอนกำกับดูแลการจัดหา การใช้ และการปลดระวางซอฟต์แวร์ และจะมีระบบการบริหารจัดการสินทรัพย์ซอฟต์แวร์ที่สอดรับกับการดำเนินธุรกิจเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์กร

 

ผลสำรวจ หากแบ่งตามภูมิภาค ยังพบว่า

• ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก มีอัตราโดยรวมของการใช้ซอฟต์แวร์โดยไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ์สูงที่สุด อยู่ที่ร้อยละ 61 ลดลง 1 จุด เมื่อเทียบกับผลการสำรวจในปี ปี 2556

• รองลงมา ได้แก่ ภูมิภาคยุโรปกลางและยุโรปตะวันออก มีอัตราโดยรวมอยู่ที่ร้อยละ 58 ลดลง 3 จุดเมื่อเทียบกับผลการสำรวจในปี ปี 2556

ถัดมาคือแอฟริกาและตะวันออกกลาง โดยมีอัตราโดยรวมอยู่ที่ร้อยละ 57 ลดลง 2 จุดเมื่อเทียบกับผลการสำรวจในปี ปี 2556

• ภูมิภาคอเมริกาเหนือยังคงมีอัตราการใช้ซอฟต์แวร์โดยไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ์ต่ำสุด อยู่ที่ร้อยละ 17 ถึงแม้อัตราดังกล่าวจะทำให้เกิดความเสียหายที่เป็นมูลค่าเชิงพาณิชย์สูงถึง 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ก็ตาม

• ภูมิภาคยุโรปตะวันตก อัตราการใช้ซอฟต์แวร์โดยไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ์ลดลง 1 จุด อยู่ที่ร้อยละ 28

 

ท่านสามารถดาวน์โหลดรายงานการสำรวจ Seizing Opportunity Through License Compliance ฉบับเต็มที่รวมข้อมูลเฉพาะของแต่ละประเทศไว้ได้ที่เว็บไซต์ของบีเอสเอ www.bsa.org/globalstudy

Share this post

Submit to FacebookSubmit to TwitterSubmit to LinkedIn