อัยการสหรัฐฯ ประกาศดำเนินคดีขั้นเด็ดขาดกับผู้ผลิตต่างชาติที่ใช้ซอฟต์แวร์เถื่อน

ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน
 

เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2557 ที่ผ่านมา สองอัยการรัฐดำเนินคดีกับผู้ผลิตจีนรายใหญ่ที่ใช้ซอฟต์แวร์เถื่อน หรือซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์สร้างความได้เปรียบทางการค้าเหนือคู่แข่งรายอื่นๆ ในสหรัฐอเมริกา

 

อัยการรัฐหลุยส์เซียน่าและโอคลาโฮมาฟ้องร้องดำเนินคดีกับบริษัทสัญชาติจีน ที่หลีกเลี่ยงการจ่ายค่าลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ไปเมื่อเร็วๆนี้ เนื่องจากก่อให้เกิดความได้เปรียบด้านต้นทุนที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งสามารถลงโทษได้ภายใต้กฎหมายที่ร่างขึ้นเพื่อส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันอย่างเป็นธรรม

 

การดำเนินคดีครั้งนี้เกิดขึ้นภายหลังจากที่รัฐแคลิฟอร์เนีย แมสซาชูเซ็ตส์ วอชิงตัน และเทนเนสซี ได้ดำเนินคดีกับบริษัทผู้ผลิตชาติต่างๆ ทั้งไทย อินเดีย จีน และบราซิล ในข้อหาลักลอบใช้เทคโนโลยี ซึ่งสร้างความเสียหายให้กับบริษัทสหรัฐฯ รายอื่นๆ ที่ตั้งอยู่ในรัฐเหล่านั้น

อัยการรัฐหลุยส์เซียน่า เจมส์ ดี. คาลด์เวลล์ กล่าวว่าหลุยส์เซียน่ากำลังดำเนินการ “ปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ด้วยกฎหมายที่เข้มงวดที่สุดของประเทศ”

 

อัยการรัฐโอคลาโฮมา สก็อตต์ พรูตต์ กล่าวว่า "บริษัทใดก็ตามที่สร้างความได้เปรียบทางการค้าจากการละเมิดลิขสิทธิ์สมควรรับผิดชอบ”

 

รัฐหลุยส์เซียน่าได้ดำเนินคดีกับบริษัทสัญชาติจีนชื่อ Guangdong Canbo Electrical Appliance Company ซึ่งเป็นผู้ผลิตเตาบาร์บีคิวยอดนิยมยี่ห้อ Char-broil® และ Char-grill® ในข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ ส่งผลให้บริษัทถูกปรับเป็นเงิน 250,000 เหรียญสหรัฐฯ และยังต้องยอมให้เจ้าหน้าที่เข้ามาตรวจสอบในปีต่อไปเพื่อให้แน่ใจว่าบริษัทยังคงปฏิบัติตามกฎหมาย โดยสำนักงานอัยการรัฐหลุยส์เซียน่าเปิดเผยว่าบริษัทได้ลักลอบใช้ซอฟต์แวร์ธุรกิจมาเป็นเวลาหลายปี และเมื่อถูกจับได้ พนักงานของบริษัทก็ยังยืนกรานว่าพวกเขาจะเปลี่ยนมาใช้ซอฟต์แวร์ถูกกฎหมาย”แค่บางส่วน” เท่านั้น

 

“เราได้แจ้งบริษัท Canbo ไปว่าเราสามารถสั่งห้ามนำเข้าสินค้าของบริษัทในรัฐหลุยส์เซียน่าได้ บริษัทจึงยอมมาเจรจาและจ่ายเงินซื้อซอฟต์แวร์ถูกกฎหมายร้อยเปอร์เซ็นต์” คาลด์เวลล์ กล่าว ในโอคลาโฮมา

 

อัยการรัฐสก็อตต์ พรูตต์ ได้สั่งฟ้องซัพพลายเออร์อุปกรณ์น้ำมันสัญชาติจีนรายหนึ่ง คำฟ้องที่ส่งไปยังศาล เคาน์ตี้ดิสทริกต์ของรัฐโอคลาโฮมากล่าวว่าบริษัท Neway Valve ได้ละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ด้านกระบวนการผลิต ซึ่งส่งผลให้บริษัทสามารถผลิตและขายสินค้าได้ในราคาต่ำกว่าผู้ผลิตรายอื่นๆ

 

การฟ้องร้องครั้งนี้ทำให้ Neway Valve ต้องจ่ายเบี้ยปรับ และถูกห้ามนำเข้าสินค้าเนื่องจากละเมิด พ.ร.บ. ปฏิรูปต่อต้านการผูกขาด และกฎหมายจารีตประเพณีของรัฐ และในเดือนมกราคมที่ผ่านมาบริษัทยังได้เสนอขายหุ้นครั้งแรกแก่ประชาชนทั่วไป (IPO) ซึ่งสามารถระดมทุนได้ถึง 7.5 พันล้านบาท

 

“ตลาดส่งออกทั้งหมดรวมทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กำลังถูกจับตามองเนื่องจากปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์” ปีเตอร์ เฟาเลอร์ ผู้ช่วยทูตด้านทรัพย์สินทางปัญญาประจำภูมิภาค สถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย กล่าว

 

“การนำกฎหมายการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรมมาใช้เพื่อผลักดันกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาจะช่วยกระตุ้นให้บริษัทต่างๆ ปฏิบัติตามกฎหมายลิขสิทธิ์โดยหันมาใช้แต่ซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้อง”

 

“พนักงานไอทีและกรรมการผู้จัดการของบริษัทมีหน้าที่ต้องรับรู้ข้อผูกพันตามกฎหมาย ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง เพราะปัจจุบันผู้ผลิตในประเทศต่างๆ ที่ทำการส่งออกจะต้องแสดงให้เห็นว่าบริษัทเป็นส่วนหนึ่งของซัพพลายเชนที่โปร่งใส เราจึงอยากขอให้บริษัทต่างๆ เร่งตรวจสอบซอฟต์แวร์ที่ใช้ในทันทีเพื่อให้แน่ใจว่าบริษัทไม่ได้กำลังใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ รวมถึงมีวิธีปฏิบัติที่ดีในการบริหารจัดการลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ และดำเนินธุรกิจอย่างถูกต้องตามกฎหมาย” พันตำรวจเอกชัยณรงค์ เจริญไชยเนาว์ โฆษกกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก. ปอศ.) กล่าว ภายในงานแถลงข่าวโครงการป้องปรามที่จัดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ผู้ผลิตสหรัฐฯ สนับสนุนมาตรการขั้นเด็ดขาด

รายงานจาก Harvard Business School และ National Association of Manufacturers ระบุว่าการละเมิดกฎหมายลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในภาคการส่งออกนำไปสู่การสูญเสียงานในสหรัฐฯ จำนวน 42,000 อัตรา และรายได้จำนวนหลายพันล้านเหรียญสหรัฐ บริษัทผู้ผลิตในสหรัฐฯ จึงได้เรียกร้องให้อัยการรัฐต่างๆ เอาจริงเอาจังกับการปราบปรามคู่แข่งต่างชาติที่ใช้ซอฟต์แวร์เถื่อนเพื่อลดค่าใช้จ่าย และก่อให้เกิดการแข่งขันอย่างไม่เป็นธรรมในตลาดสหรัฐฯ การสนับสนุนนี้ทำให้อัยการรัฐ 39 ราย ออกมาประกาศว่าจะใช้อำนาจรัฐที่มีอยู่เร่งเอาผิดกับผู้ผลิตที่ใช้เทคโนโลยีไอทีที่ขโมยมา

 

“ผลการศึกษาล่าสุดของไอดีซี หรือ International Data Corporation พบว่าอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกสูงถึงร้อยละ 60” ไมเคิล อาร์เค มัดด์ เลขาธิการประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก พันธมิตร Open Computing Alliance กล่าว

 

“บรรดาผู้ผลิตในสหรัฐฯ ที่ต้องจ่ายเงินค่าซอฟต์แวร์ต่างเห็นว่าการกระทำเช่นนี้ไม่เป็นธรรมอย่างเห็นได้ชัด ทั้งนี้ ซอฟต์แวร์ด้านเทคนิคที่สลับซับซ้อนอาจมีราคาสูงถึงล้านบาทต่อหนึ่งไลเซนส์ และบางบริษัทก็อาจต้องใช้ซอฟต์แวร์ประเภทนี้ถึงห้าหรือหกไลเซนส์ขึ้นไป ซึ่งแน่นอนว่าบริษัทที่ใช้ซอฟต์แวร์เถื่อนก็จะได้เปรียบด้านต้นทุนการดำเนินงานอย่างมาก”

 

พันธมิตร Open Computing Alliance ได้จัดสัมมนาหลายครั้งเพื่อให้คำแนะนำแก่ผู้ผลิตไทยเกี่ยวกับกฎหมายการแข่งขันอย่างไม่เป็นธรรมของสหรัฐฯ รวมถึงวิธีปฏิบัติในการบริหารจัดการซอฟต์แวร์ที่เหมาะสมซึ่งจะช่วยให้บริษัทสามารถหลีกเลี่ยงปัญหาทางกฎหมายได้ นอกจากนี้มัดด์ยังแนะนำให้ผู้ผลิตและผู้ส่งออกตรวจสอบซอฟต์แวร์ที่ใช้อยู่ทันทีเพื่อป้องกันการถูกฟ้องร้องดำเนินคดี

 

เกี่ยวกับพันธมิตร Open Computing Alliance

พันธมิตร Open Computing Alliance ก่อตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนการเปิดกว้างด้านข้อมูล (Information) การสื่อสาร (Communication) และเทคโนโลยี (Technology) โดยส่งเสริมให้เกิดความปลอดภัยและการปกป้องข้อมูลจากภัยคุกคามทุกประเภท โดยเคารพกฎหมายและสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.opencomputingalliance.org

Share this post

Submit to FacebookSubmit to TwitterSubmit to LinkedIn