ตำรวจบุกจับ ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์และซัพพลายเออร์บริษัทอาหารและเครื่องดื่มยักษ์ใหญ่ ข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์

ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน
 

เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2556 ที่ผ่านมา กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก. ปอศ.) ยังคงเดินหน้าปราบปรามการใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์อย่างต่อเนื่อง ล่าสุดเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เข้าตรวจจับองค์กรธุรกิจที่ใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ 27 แห่ง รวมมูลค่าซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ราว 45 ล้านบาท โดยหนึ่งในนั้นคือบริษัทผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ชั้นนำของไทย ซึ่งเป็นผู้จัดหาบรรจุภัณฑ์ให้กับบริษัทอาหารและเครื่องดื่มยักษ์ใหญ่ของโลก
จากการจับกุมในครั้งนี้ พบว่าบริษัทผู้ผลิตและจัดหาบรรจุภัณฑ์ดังกล่าวใช้คอมพิวเตอร์ 26 เครื่องที่ติดตั้งซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ของออโตเดสก์® อะโดบี และไทยซอฟต์แวร์ เอ็นเตอร์ไพร์ส และบริษัทมีรายได้จากการดำเนินธุรกิจต่อปีถึง 600 ล้านบาท ซึ่งเบาะแสสำหรับคดีนี้ได้มาจากการโทรศัพท์เข้ามารายงานผ่านศูนย์ฮอตไลน์

โดยบริษัทที่ถูกตรวจจับทั้งหมด 27 บริษัท ส่วนใหญ่อยู่ในอุตสาหกรรมเหล็ก ก่อสร้าง และยานยนต์ และเป็นบริษัทที่มีผู้ถือหุ้นสัญชาติอเมริกัน ญี่ปุ่น และไทย นอกจากนี้ พบว่าบริษัทที่มีผู้ถือหุ้นสัญชาติอเมริกัน ใช้โปรแกรมละเมิดลิขสิทธิ์ของ Tekla ในการออกแบบวิศวกรรมโครงสร้างเหล็ก

การบุกเข้าตรวจค้นซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์เป็นการแจ้งเตือนให้ภาคธุรกิจไทยตระหนักว่าการใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์เป็นการกระทำผิดกฎหมายภายใต้พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

พ.ต.อ. ชัยณรงค์ เจริญไชยเนาว์ รองผู้บังคับการและโฆษก บก. ปอศ. กล่าวว่าทางเจ้าหน้าที่ตำรวจยังต้องการความร่วมมือจากคนไทยทุกคนในการร่วมกันต่อต้านการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์

 

“เรายังคงทำงานหนักเพื่อปราบปรามซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ต่อไปอย่างต่อเนื่อง ด้วยจุดประสงค์ที่จะทำให้ประเทศไทยได้รับการปลดออกจากรายงานพิเศษของสำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐฯ มาตรา 301 ในฐานะประเทศที่ถูกจับตามองพิเศษ (PWL) ซึ่งในความเป็นจริงแล้วเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะช่วยกันสอดส่องดูแล เพื่อปกป้องผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของประเทศ องค์กรธุรกิจสามารถให้ความร่วมมือด้วยการใช้ซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์และมีนโยบายบริหารจัดการสินทรัพย์ซอฟต์แวร์ที่ดี พนักงานเองก็สามารถให้ความร่วมมือด้วยการโทรแจ้งเมื่อพบเห็นการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในองค์กรของตน”

 

ถึงแม้อัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์บนเครื่องพีซีในประเทศไทยได้ลดลงอย่างต่อเนื่องจาก 80% ในปี พ.ศ.2549 เหลือ 72% ในปี พ.ศ.2554 ตามผลการศึกษาการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ทั่วโลก โดย International Data Corporation (IDC) เมื่อเดือนพฤษภาคม 2555 แต่เรายังคงต้องทำงานหนักกันอีกมาก เพื่อลดอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ลงอีก โดยอัตราเฉลี่ยของการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์บนเครื่องพีซีในเอเชียแปซิฟิก อยู่ที่ 60%

 

บก.ปอศ. ได้ทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เช่น กรมทรัพย์สินทางปัญญา อย่างใกล้ชิดโดยมุ่งหวังให้ประเทศไทยหลุดพ้นจากสถานะประเทศที่ต้องจับตามองเป็นพิเศษ ตามรายงานพิเศษของสำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐฯ มาตรา 301 ซึ่งจะประเมินและจัดอันดับประเทศคู่ค้าแต่ละรายในเรื่องการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาเป็นประจำทุกปี ภายใต้พ.ร.บ ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

 

การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์มีบทลงโทษทั้งจำและ/หรือปรับ สำหรับผู้ที่แจ้งเบาะแสการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ผ่านศูนย์ฮอตไลน์ทางหมายเลขโทรศัพท์ 0-2714-1010 หรือผ่านทางเว็บไซต์ มีสิทธิ์ได้รับเงินรางวัลสูงสุดถึง 250,000 บาท และข้อมูลของท่านจะถูกเก็บเป็นความลับ ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.stop.in.th

 

Share this post

Submit to FacebookSubmit to TwitterSubmit to LinkedIn