ในวันที่ 4 เมษายน ที่ผ่านมา google ได้ทำการเปลี่ยนตัว ซีอีโอ ตามกำหนดการโดยดึง ผู้ร่วมก่อตั้งอย่าง "แลร์รี่ เพจ" มานั่งแท่นเต็มตัวแทน "ฮีริค ชมิตต์" ที่เปลี่ยน google ให้เป็นบริษัทหมื่นล้านดอลลาร์ใน 10 ปีที่ผ่านมา
ทิม บาจาริน (Tim Bajarin) นักวิเคราะห์ของบริษัทวิจัย Creative Strategies เชื่อว่าการเปลี่ยนตำแหน่งซีอีโอกูเกิลครั้งนี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อกูเกิล ตรงกันข้าม การนั่งเก้าอี้ซีอีโอซึ่งจะทำให้เพจ (Larry Page) มีอำนาจตัดสินใจในการบริหารกูเกิลมากขึ้นจะยิ่งทำให้กูเกิลมีความโดดเด่นด้านนวัตกรรมยิ่งขึ้นอีก
"เมื่อแลร์รี่ เพจมีสิทธิ์กำหนดกลยุทธ์โดยรวมของกูเกิล เพจจะสามารถมุ่งเติบโตในตลาดอุปกรณ์พกพาซึ่งเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้มากขึ้น จนทำให้ตลาดโมบายกลายเป็นตลาดหลักที่กุมอนาคตของกูเกิล"
อีริค ชมิดต์ (Eric Schmidt) ออกแถลงการณ์สละตำแหน่งให้แลร์รี เพจ ตั้งแต่กลางเดือนมกราคมที่ผ่านมาและจะมีผลบังคับใช้วันที่ 4 เมษายน 2554 โดยให้สัมภาษณ์ว่าค่อนข้างมั่นใจว่าการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้จะส่งผลดีกับกูเกิล เพราะเพจนั้นมีความพร้อมมากพอที่จะรับผิดชอบตำแหน่งนี้แทน
"เมื่อแลร์รี่ เพจมีสิทธิ์กำหนดกลยุทธ์โดยรวมของกูเกิล เพจจะสามารถมุ่งเติบโตในตลาดอุปกรณ์พกพาซึ่งเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้มากขึ้น จนทำให้ตลาดโมบายกลายเป็นตลาดหลักที่กุมอนาคตของกูเกิล"
อีริค ชมิดต์ (Eric Schmidt) ออกแถลงการณ์สละตำแหน่งให้แลร์รี เพจ ตั้งแต่กลางเดือนมกราคมที่ผ่านมาและจะมีผลบังคับใช้วันที่ 4 เมษายน 2554 โดยให้สัมภาษณ์ว่าค่อนข้างมั่นใจว่าการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้จะส่งผลดีกับกูเกิล เพราะเพจนั้นมีความพร้อมมากพอที่จะรับผิดชอบตำแหน่งนี้แทน
สำหรับการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ชมิดต์แถลงว่าเป็นเพราะต้องการปรับโครงสร้างเพื่อให้การตัดสินใจของ google เกิดขึ้นได้เร็วขึ้น แสดงความมั่นใจว่าเพจนั้นมีความพร้อมมานานแล้ว โดยชมิดต์จะยังทำงานร่วมกับ google ในฐานะประธานบริหาร (Executive Chairman) และจะดูแลในส่วนของภาพรวมธุรกิจ การดูแลพันธมิตร และลูกค้า พร้อมจะยังคงรับหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้กับแลร์รี เพจ ซึ่งเพิ่งมีอายุครบ 38 ปีเมื่อปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา และเซอร์เก บริน (Sergey Brin) ผู้ก่อตั้งบริษัทอีกรายหนึ่งวัย 37 ปีด้วยเช่นกัน
ในเบื้องต้น นักลงทุนตอบรับแผนการผลัดใบซีอีโอนี้ในแง่ดี ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเพจนั้นเป็นผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งซีอีโอคนแรกของ google ในช่วงก่อตั้ง (ปี 1998 ถึงปี 2001) และมีบทบาทสูงในการบริหาร google ขณะเดียวกัน google ได้รายงานผลประกอบการไตรมาส 4 ปี 2010 ที่ผ่านมาว่าสามารถทำกำไรสุทธิได้ถึง 2,540 ล้านเหรียญ เพิ่มขึ้นจาก 1,970 ล้านเหรียญในไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้า บนรายได้รวม 8,440 ล้านเหรียญ คิดเป็นสัดส่วนเพิ่มขึ้นราว 26% ทั้งหมดนี้ทำให้มูลค่าหุ้นของ google เพิ่มขึ้นอีก 2% เมื่อปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา
ปัจจุบัน google มีพนักงานทั้งสิ้น 25,000 คน บนรายได้มากกว่า 3 หมื่นล้านเหรียญต่อปี กลายเป็นบริษัทเจ้าตลาดบริการค้นหาข้อมูลออนไลน์ของโลก และกำลังอยู่ท่ามกลางแรงกดดันจากตลาดเครือข่ายสังคมเช่นเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ในขณะนี้