บก.ปอศ. เพิ่มความเข้มงวดจับกุมองค์กรธุรกิจละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์...ทีมงานโอเพนซอร์สทูเดย์ อยากให้หันมาใช้โอเพนซอร์ส OpenSource

ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน
 

เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2559 ที่ผ่านมา ทางทีมงานโอเพนซอร์สทูเดย์ OpenSource2day ได้รับแจ้งจากกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก.ปอศ.) ว่าได้เข้าตรวจค้น จับกุม องค์กรธุรกิจที่ใช้ซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายและไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ พบมูลค่าความเสียหายในปี พ.ศ. 2557 – 2559 จำนวนมาก โดยองค์กรธุรกิจที่ถูกเข้าตรวจค้น จับกุม ส่วนใหญ่อยู่ในอุตสาหกรรมการผลิต ก่อสร้างและวิศวกรรม

 

บก.ปอศ. ขอแนะนำให้องค์กรธุรกิจตรวจสอบสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิของซอฟต์แวร์ที่ถูกติดตั้งและใช้งานบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขององค์กรธุรกิจ หากพบว่าไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในซอฟต์แวร์โปรแกรมใด ขอแนะนำให้แก้ไขให้ถูกต้อง

 

ทางทีมงานโอเพนซอร์สทูเดย์ อยากแนะนำให้หันมาใช้โอเพนซอร์ส OpenSource ทดแทนซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ที่ละเงิดลิขสิทธิ์

 

การเข้าจับกุมการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์รายสำคัญของปีนี้ คือ บริษัทผู้ผลิตอัญมณีและเครื่องประดับ ที่ใช้ซอฟต์แวร์โดยไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิบนคอมพิวเตอร์ 156 เครื่องมูลค่าความเสียหายรวม 15 ล้านบาท

 

วัตถุประสงค์ของการบังคับใช้กฎหมายลิขสิทธิ์อย่างเข้มงวดกับองค์กรธุรกิจ เพื่อลดการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ และส่งเสริมสิ่งแวดล้อมบนโลกไซเบอร์ที่ปลอดภัยจากการจู่โจมของมัลแวร์และภัยไซเบอร์ต่าง ๆ ที่เกิดจากการใช้ซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายและไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ์

 

เจ้าหน้าที่ตำรวจขอความร่วมมือให้องค์กรธุรกิจมีการบริหารจัดการสินทรัพย์ซอฟต์แวร์ในเชิงรุกเพื่อหลีกเลี่ยงการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในองค์กร

 

จากข้อมูลของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ดด้า) เผยว่าในปีที่ผ่านมา มีเหตุการณ์โจมตีทางไซเบอร์มากถึง 4,300 ครั้ง โดยร้อยละ 35 เป็นการปฏิบัติการของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ประสงค์ร้าย (malicious software) ร้อยละ 26 เกิดจากการหลอกลวงให้โอนเงินหรือชำระเงินที่สร้างความเสียหาย และร้อยละ 23 เป็นเรื่องเจาะเข้าสู่เครือข่ายโดยไม่ได้รับสัญญาอนุญาต

 

“จึงขอแนะนำให้ผู้นำองค์กรธุรกิจทั่วประเทศตรวจสอบให้แน่ใจว่าซอฟต์แวร์ที่ติดตั้งและใช้งานอยู่บนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในองค์กรของท่าน เป็นซอฟต์แวร์ที่ถูกกฎหมาย ซึ่งจะช่วยให้ท่านลดความเสี่ยงในด้านการดำเนินธุรกิจ ด้านความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ รวมถึงความเสี่ยงทางด้านกฎหมาย” พ.ต.อ.วินัย วงษ์บุบผา รอง ผบก.ปอศ. กล่าว

Share this post

Submit to FacebookSubmit to TwitterSubmit to LinkedIn