จิม ไวท์เฮิร์ส (Mr.Jim Whitehurst) President & CEO Red Hat เดินทางมาประเทศไทย และพบปะกับสื่อมวลชน อัพเดทการเปิดสำนักงานในประเทศไทย เปิดใจเตรียมพร้อม "ก้าวสู่ Thailand 4.0 ด้วยโอเพนซอร์สกับเรดแฮท" เมื่อวันศุกร์ที่ 30 กันยายน 2559 ณ โรงแรมเดอะ เซ็นต์ รีจิส กรุงเทพฯ
ตลอดระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา Red Hat ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก กับการเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีโอเพนซอร์ส หลายครั้งที่เรดแฮท ต้องลงไปศึกษาความเป็นไปได้ของการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ ยังประเทศนั้นๆ เรดแฮทต้องลงไปศึกษาถึงแนวความคิด วัฒนธรรมท้องถิ่น รูปแบบการทำงาน รวมถึงนโยบายในประเทศ กว่าจะมาถึงวันนี้ แนวความคิดจะเป็นอย่างไร ในวันนี้เราจะพาทุกท่านไปพบกับที่มาที่ไปกับการมาตั้งสำนักงานในไทย และ The Power of Open Source Innovation...
จิม ไวท์เฮิร์ส President & CEO Red Hat กล่าวต้อนรับสื่อมวลชน และเล่าเรื่องประสบการณ์ของเรดแฮทในความเป็นโอเพนซอร์ส โดยยกตัวอย่างอุตสาหกรรมรถยนต์ ซึ่งในวันนี้ ไม่ว่าจะทำธุรกิจอะไรก็ตาม ถ้ายังยึดติดกับกลยุทธ์เดิมๆ และวิธีการเดิมๆ เช่น ถ้าคุณต้องผลิตรถยนต์ แนวคิดของการผลิตรถก็คือ คิดว่าจะออกรถใหม่ๆ ให้ราคาถูกๆ แต่ถามว่า ได้กลับมามองหรือไม่ว่า จริงๆ แล้วการที่มีรถเพิ่มขึ้นนั้น ปัญหาของภาคอุตสาหกรรมนี้ก็คือ เรื่องเวลาในการใช้รถ และพื้นที่สิ้นเปลืองในการจอดรถยนต์ หากทุกวันนี้ คุณลองจับเวลาในการใช้รถวันละเท่าไหร่ กี่นาที กี่ชั่วโมง หรือรถของท่าน 1 คัน จริงๆ แล้ว เปลืองพื้นที่จอดรถถึง 5-6 สล็อต เช่น ที่บ้าน ที่ทำงาน จะเห็นได้ว่า พื้นที่พวกนี่สูญไปกับรถ 1 คัน นี่คือสิ่งที่กำลังบอกว่า คนทำงานในปัจจุบัน ลืมนึกถึงมุมมองเรื่องการขับเคลื่อนนวัตกรรม ลืมมองไปว่า จะทำอย่างไร ให้สิ่งที่คุณผลิตมานี้ มีมูลค่าเพิ่ม ในตัวของมันเอง ในทางที่มีการพัฒนามากยิ่งขึ้นไม่ใช่แต่เพียงว่ามีราคาที่ถูกลง หรือ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง อย่างนี้เป็นต้น
วันนี้ ดิจิตอล ทรานฟอเมชั่น หรือการเปลี่ยนแปลงของโลกนั้น ยกตัวอย่างเช่น อูเบอร์ ที่ไม่มีใครไม่รู้จัก มีรถให้บริการมากที่สุด แต่เขาไม่ได้มีรถเอง หรือเฟสบุ๊ค ซึ่งทุกคนใช้อยู่ เฟสบุ๊คก็ไม่ได้สร้างคอนเทนท์เอง ผู้ใช้บริการเป็นคนสร้างเนื้อหาเหล่านั้น หรือจะเป็นแอร์บีแอนด์บี ที่มีที่พักให้บริการทั่วโลก และเขาไม่ได้เป็นเจ้าของเลยสักแห่งเดียว หรือเว็บอาลีบาบา ซึ่งมีของขายเยอะมาก แต่ไม่ต้องไปบริหารสินค้าคงคลังใดๆ ทั้งสิ้น ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ เกิดขึ้นมาจากการขับเคลื่อนจากการเปลี่ยนแปลงที่ไปสร้างธุรกิจที่หลายคนอาจมองไม่เห็นหรือคิดไม่ถึง ส่วนนี้ต่างหากที่เป็นนวัตกรรม คือ สิ่งที่เทคโนโลยีเข้าไปขับเคลื่ิิอน.
สำหรับ Red Hat มองว่า วันนี้แนวทางธุรกิจต้องเปลี่ยน เปลี่ยนความคิด โดยให้มองส่วนนวัตกรรมแทนที่จะไปกำหนดมาตรฐานอะไรก็ตาม มองว่า ทำอย่างไรคุณถึงจะสร้างนวัตกรรม ที่ทำให้ธุรกิจของคุณมีการแข่งขันที่เหนือกว่าคนอื่น หรือสร้างส่วนใดที่เป็นประโยชน์กลับเข้ามาสู่องค์กรได้ ซึ่งผมอยากบอกว่า ลูกค้าของเรดแฮทในวันนี้ จริงๆ แล้วที่ใช้อยู่นั้น เอา Red Hat ไปเป็นแพทฟอร์มในการสร้างนวัตกรรมหลากหลายมากมายที่สร้างได้ด้วยตัวเอง ปัจจุบันเรามีคอมมูนิตี้ มีพันธมิตร มีลูกค้าที่ทำงานร่วมกับเรา แล้วเอาเทคโนโลยี เอาแพทฟอร์มของเราเข้าไปขับเคลื่อนให้เกิดความคิด ความเปลี่ยนแปลง เปิดโลกทัศน์ มีอิสระเสรีในการพัฒนา สำหรับการบริการก็อยู่บนพื้นฐานของเรทแฮทที่เรานำไปให้ และตรงนี้เอง เรทแฮทมีส่วนช่วยให้ลูกค้าของเราสร้างนิยามใหม่ ของการเข้าถึงอย่างสร้างสรรค์
ตลอดประสบการณ์ 20 ปีของ Red Hat ที่ผ่านมา เรามีโอเพนซอร์สที่เรารู้เข้าไปช่วยขับเคลื่อนธุรกิจของลูกค้า ช่วยสร้างนวัตกรรมคู่ขนานไปกับธุรกิจของลูกค้า หากเปรียบเทียบแล้ว เรดแฮทก็เหมือนกับนักเคมี นำส่วนผสมหลายๆ อย่างมารวมกัน แล้วทำให้เกิดสิ่งใหม่ขึ้นมา เพื่อจุดมุ่งหมายหนึ่ง ดังนั้น ตรงจุดนี้ เราจะทำให้สามารถทำงานร่วมกับทุกคนเลย ที่มองว่า โอเพนซอร์ส Open Source เข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อน ไม่ว่าจะเป็น Cloud หรือ แม้แต่ Thaitand 4.0 เพราะทุกวันนี้ ภาครัฐให้ความสำคัญกับการนำเอานวัตกรรมมาขับเคลื่อน จึงถือเป็นโอกาสที่ดีของ Red Hat ในวันนี้ด้วย ที่เข้ามาในจังหวะที่ดี เพราะรัฐมีโอกาสที่จะให้การสนับสนุน และภาคอุตสาหกรรมก็มีความตื่นตัว การการนำเอานวัตกรรมมาขับเคลื่อนเช่นเดียวกัน
ด้าน เดเมียน วอง รองประธานและผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคอาเซียน ได้เล่าว่า Red Hat เป็นที่หนึ่งในผู้นำด้านโอเพนซอร์ส และตั้งแต่ปี 2005 จนถึงวันนี้ เรามีโอกาสทางด้านโอเพนซอร์ส Red Hat เพียง 8,000 ล้านเหรียญเท่านั้นเอง แต่อีก 2 ปีข้างหน้าเราจะมีโอกาสของโอเพนซอร์สและ Red Hat เพิ่มขึ้นอย่างมากมายมหาศาล ไม่ว่าจะเป็นทางด้านของ สายการบิน ธนาคาร กลุ่มหลักทรัพย์ต่างๆ กลุ่มเฮลล์แคร์ หรือเทเลคอม เป็นลูกค้าและใช้โอเพนซอร์สทั้งนั้น และบริษัทที่ดำเนินการทางธุรกิจที่ต้องใช้แอปพลิเคชั่น ก็ใช้เรดแฮทในการดำเนินการ ถือว่า เป็นฟันเฟืองทางธุรกิจที่สำคัญอย่างมากทีเดียว
สำหรับรูปแบบในการทำธุรกิจของ Red Hat นั่้น เป็นแบบ Subscription Model คือ ใช้บริการส่วนใด จ่ายค่าบริการในส่วนนั้น ไม่ต้องซื้อทั้งหมดและไม่ได้ใช้ ซึ่งไม่เหมือนรูปแบบเดิมแล้วในวันนี้ และ Red Hat ก็ได้เข้าไปร่วมกับธุรกิจเหล่านั้น ยกตัวอย่างการบริการกับ น้ำดื่ม ซึ่งน้ำธรรมดา ที่มีอยู่ตามธรรมชาติทั่วไป ซึ่งมันฟรี แต่ถ้าอยากนำมาบริโภค ดื่ม เลยอาจจะไม่ได้เพราะมันไม่ปลอดภัย ก็จะต้องนำน้ำเหล่านั้นมาผ่านกระบวนการ ขั้นตอน แล้วคุณก็ไปซื้อน้ำเหล่านั้นมาบริโภค เช่น น้ำประปา น้ำขวด ก็แล้วแต่ความต้องการ ซึ่ง Red Hat ก็เหมือนกัน เพราะโอเพนซอร์สเปิดกว้างมาก แต่ถ้าคุณอยากเลือกใช้ของดี มีคุณภาพ ก็เลิือกใช้ได้ตามสิ่งที่คุณต้องการใช้ นี่คือนิยามของ Red Hat ที่ผมอยากฝากไว้
สำหรับ Digital Transformation นั้น ทุกท่านคงทราบกันดีอยู่แล้วว่า ยุคมันเปลี่ยนไปแล้ว เมื่อโลกเปลี่ยน ธุรกิจก็เปลี่ยน การใช้ชีวิตของคนก็เปลี่ยน เพราะเทคโนโลยีไอทีเข้ามามีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น การใช้ชีวิต การดำเนินธุรกิจก็เปลี่ยนไป องค์กรธุรกิจในวันนี้ จะใช้ไอทีในการขับเคลื่อน วันนี้เราจะต้องทำอะไรที่ลงทุนด้านเทคโนโลยี เราต้องคำนึงว่า ต้องดูแลระบบเก่าไหม หากต้องทำก็ต้องเหมาะสมกับการลงทุนเพื่อ นวัตกรรม เพราะตอนนี้ องค์กรธุรกิจต้องมองว่า ทำอย่างไรถึงจะลงทุนอย่างมีคุณภาพ และได้นวัตกรรมและสามารถพัฒนานวัตกรรมได้ด้วยตัวเองในการให้บริการและเพื่อการแข่งขัน
ปัจจุบันโอเพนซอร์ส OpenSource อยู่ทุกที่ อยากบอกว่า Red Hat เรามีอยู่ครบทุกบริการ เช่น Cloud, Network, Application, Management Tools เป็นต้น สำหรับ Red Hat แล้ว วันนี้จะไม่ใช่ OpenSource Coding แล้ว แต่อยากให้มองว่า การนำโอเพนซอร์สมาใช้เป็นการเปิดกว้าง ให้เกิดการแชร์ ซึ่งจริงๆ แล้ว นับเป็นการสร้างวัฒนธรรมในการทำงาน โดยให้เทคโนโลยีเอื้อประโยชน์ให้กับองค์กรธุรกิจ และยังสามารถแชร์ประสบการณ์ความสำเร็จของคุณผ่านทางเทคโนโลยีได้อีกด้วย สำหรับ Open Source community ในปัจจุบัน นักพัฒนาเขาก็จะแชร์โค้ดกัน แชร์ความสามารถกัน ประมาณนี้ และองค์กรธุรกิจระดับ Enterprice ก็ใช้โอเพนซอร์สกัน โดย IDC ได้ทำการสำรวจว่า 95% ขององค์กรธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยีในการขับเคลื่อน จะมีโอเพนซอร์สเทคโนโลยีเป็นส่วนหนึ่งอยู่ในนั้นทุกองค์กร สำหรับ Trend ของประเทศไทยในตอนนี้ ไม่ต่างจากทั่วโลก เพราะมีอัตราการใช้โอเพนซอร์สและผลิตภัณฑ์ของ Red Hat จะมีเพิ่มขึ้นแน่นอน เราจะไม่หนีจากเทรนจากทั่วโลกออกไป
และสำหรับเหตุผลที่วันนี้ Red Hat เปิดสำนักงานในไทย ก็คือว่า ด้วยนโยบายของภาครัฐ คือ Thailand 4.0 ประกอบกับข้อมูลของ Gartner กับ IDC ที่ระบุไว้ว่า IT Spending สำหรับ Enterprice มีการเติบโตอย่างแน่นอน และมีนัยยะสำคัญทางเศรษฐกิจอีกด้วย โดยมีการขับเคลื่อนด้าน E-Payment ด้าน Digital Economy หรือส่วนใดก็ตาม อีกอย่างหนึ่งก็คือ การสนับสนุนจากภาครัฐที่อาจเกิดขึ้นต่อไป วันนี้จึงบอกได้ว่า โอเพนซอร์สเป็นส่วนสำคัญที่ทางเราต้องเข้าไปดู เพื่อสร้างโอกาสของการแข่งขันให้กับนักพัฒนา ให้กับธุรกิจในประเทศไทย ที่มีอยู่หลากหลายอุตสาหกรรมด้วย และสำหรับนโยบาย Digital Economy ที่ขับเคลื่อนด้วยหลายๆ อย่าง เช่น Smart Technology, Thailand 4.0 ที่ช่วยขับเคลื่อนธุรกิจ ทำให้เรามีโอกาสกับภาค SMEs มากขึ้น ดังนั้น Red Hat คือ พื้นฐานของหลายอย่างที่สามารถขับเคลื่อนความเป็น Thailand 4.0 ได้ และเรามีบทบาทที่สำคัญในส่วนนี้
พบภาพแบบ Exclusive ได้ที่ OpenSource2day Facebook Fan Page
รีชาร์ด โก๊ะ, นายจิม ไวท์เฮิร์ส, เดเมียน วอง
เดเมียน วอง
นายจิม ไวท์เฮิร์ส
-
-
-
-
-
-
-
-
รีชาร์ด โก๊ะ, นายจิม ไวท์เฮิร์ส, เดเมียน วอง
ประธานและซีอีโอ เรดแฮท, -
เดเมียน วอง
vh -
นายจิม ไวท์เฮิร์ส
ประธานและซีอีโอ เรดแฮท
-
OpenSource โอเพนซอร์ส กับ "Red Hat" อีกหนึ่งทางเลือก...< ก่อนหน้า
-
คาดการณ์เทคโนโลยีปี 2558 จากบริษัท เรดแฮท อิงค์ต่อไป >