Rad hat Open Innovation Labs สร้างนวัตกรรมต่อยอดจาก Open Source

ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน
 

เมื่อวันที่ 24 กรกฏาคม 2561 ที่ผ่านมา OpenSource2day Magazine นิตยสารโอเพนซอร์สทูเดย์ ได้เข้าร่วมงาน Red Hat Media Briefing ซึ่งมีการอัพเดทข้อมูลธุรกิจที่เติบโตของ Red Hat และ Open Innovation Laps ที่เปิดมาแล้ว 1 ปี ถึงกระบวนการสร้างนวัตกรรมต่อยอดเทคโนโลยีด้วยโอเพนซอร์ส โดยผู้บริหารจาก Red Hat ทั้ง 3 ส่วน คือ ผู้บริหารภาคพื้น เอเชียแปซิฟิค ผู้บริหาร Innovation Lap สิงคโปร์ และผู้บริหาร Red Hat ประเทศไทย

สำหรับบทบาทของโอเพนซอร์สต่อองค์กรธุรกิจ ที่จัดโดย Red hat นั้นพบว่า โลกทุกวันนี้การขับเคลื่อนนวัตกรรมทั้งหมดของเทคโนโลยีส่วนมากใช้โอเพนซอร์ส ไม่ว่าวันนี้เราจะใช้บริการจากคราว์นคอมพิวติ้งของใครก็แล้วแต่ เบื้องหลังนวัตกรรมจะใช้เทคโนโลยีแบบเปิด และ 76% ของ cloud สร้างจากโอเพนซอร์สเทคโนโลยี

ปัจจุบันลูกค้า ไม่ได้สนใจแล้วว่าเทคโนโลยีจะเป็นแบบปิดหรือแบบเปิด แต่ขอให้เทคโนโลยีเหล่านั้น ตอบโจทย์ความต้องการที่จะสร้างนวัตกรรมได้อย่างรวดเร็ว แนวคิดในยุคนี้เปลี่ยนไปมากกับคนรุ่นใหม่ๆ หากวันนี้ การพัฒนาโปรแกรมหรือแอปพลิเคชั่นเป็นในรูปแบบเก่าที่เราเรียกกันว่า  Water flow model จะทำให้ใช้เวลามากกว่าคู่แข่ง ในปัจจุบัน ทำให้ส่วนมากหันมาใช้วิธีการพัฒนาแบบ Agile ซึ่งเราจะเห็นว่า มีเครื่องมือในการควบคุมและจัดการให้นักพัฒนาทำงานร่วมกันได้ เช่น Jira soft หรือ trello รวมถึง Git hub มีให้เห็นออกมา หรือบางแห่งอาจจะใช้ Post it ในการเริ่มวิเคราะห์และออกแบบ โดยวิธีนี้จะทำงานร่วมกับผู้บริหาร ลูกค้า นักพัฒนา โปรแกรมเมอร์ในแขนงต่างๆ นักวิเคราะห์ระบบ และ system admin แต่เนื่องจากว่าการปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานในรูปแบบนี้ สิ่งที่พบก็คือเป็นการปรับเปลี่ยนครั้งใหม่จะต้องมีผู้เชี่ยวชาญและมีความรู้ อีกทั้งในด้านการทำงานอีกด้วย วัฒนธรรมการทำงานแบบนี้ บางคนจะไม่คุ้นเคย เทคโนโลยีที่ทำให้นวัตกรรมที่เราคิดเกิดได้อย่างรวดเร็วปัจจุบัน ก็มีการพูดถึง การนำเอา คอนเทรนเนอร์มาใช้ หรือ การใช้ไมโครเซอร์วิส แยกออกเป็นเพื่อให้ตอบโจทย์การพัฒนาแอพพลิเคชั่นในยุคปัจจุบัน

 

บทบาทของโอเพนซอร์ส ได้เข้ามามีส่วนในนวัตกรรมหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็น ML , AI , IoT, Big data และอื่นๆ ซึ่งเป็นความตั้งใจของ Red Hat ที่สร้าง Innovation Labs เพื่อที่จะเป็นพี่เลี้ยงให้ลูกค้า ตั้งแต่ Prework ไปถึง Residency ต่อด้วย Post-Residency โดยการเปิดให้ลูกค้าเข้ามาใช้ Red Hat Open Innovation Labs ซึ่งทั้งโลกนี้มีบริการอยู่ 3 แห่ง คือ บอสตั้น ลอนดอน และสิงคโปร์ ถ้าเป็นประเทศไทย หากมีโปรเจ็คร่วมกันแล้ว ทาง Red Hat Open Innovation Labs จะส่งทีมพัฒนามาถึงองค์กรในไทย โดยติดต่อผ่าน Red Hat Thailand 

ปัจจุบันลูกค้าที่มาใช้บริการ มาจาก Finance, Goverment, Telco และ Enterprise กิจกรรมในภาคพื้นเอเซียแปซิฟิค เช่น การจัด Workshop เรื่อง Agile และ DevOps ที่มาเลเซีย ที่ออสเตเรียก็มีเรื่อง Agile and DevOps workshop โปรแกรมที่เข้าร่วมตอนนี้ จะเป็นแบบ Residency Program ซึ่งจะอยู่กัน 6 สัปดาห์ ยกตัวอย่าง เช่น employment services จาก Australia ระบบ Financial services จากอินเดีย มาเลเซีย และ ญี่ปุ่น Use cases เช่น Heritage Bank และอีกแห่งที่ลูกค้าให้เปิดเผยได้ บริษัทประกันภัย อย่าง Motability

การที่ Red Hat สร้าง Innovation Labs จะช่วยทำให้เกิดประโยชน์อย่างมาก ไม่ว่าจะเป็น start up ที่เพิ่งจะเริ่มต้นก็จะมีพี่เลี้ยงที่จะลงมือสร้างนวัตกรรม บริษัทที่ต้องการสร้างงานบริการเพื่อให้ตอบโจทย์ที่มีการปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว เพื่อรับมือกับภาวะการแข่งขันในยุคปัจจุบัน เพราะ Red Hat มีผู้มีประสบการณ์ที่จะคอยเป็นพี่เลี้ยงให้แบบ 1 ต่อ 1 นี่คือจุดเด่น ที่เราจะได้รับการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์จากผู้เชียวชาญ

ทางทีมงานโดย บก.เก่ง ภาณุภณ พสุชัยสกุล http://phanupon-p.blogspot.com สอบถามด้านการศึกษา (Red Hat Academy) ที่เปิดให้มหาวิทยาลัย ได้ใช้ Platform, middleware และ Cloud technologies ได้ฟรี เพื่อใช้ในการเรียนการสอน เช่น วิศวกรรมซอฟต์แวร์ การได้ลงมือปฏิบัติกับเทคโนโลยีจริงๆ ซึ่งมหาวิทยาลัยในไทยสามารถใช้ได้ ถ้าเรามองว่า 75% ของ Clouds ใช้ Open Source ขับเคลื่อนยิ่งเป็นโอกาสทีมหาวิทยาลัยต่างๆ จะเข้าถึงเทคโนโลยีแบบนี้ได้ เช่น Open Stack, Open shift เมื่อถามผู้บริหารของ Red Hat ว่าในเมืองไทยรัฐบาลไม่ได้พูดถึงโอเพนซอร์ส มาหลายปีว่าเป็นอุปสรรคหรือไม่

เดเมี่ยน วอง Demien Wong Vice President and general Mnager, Asian Growth & Emerging Markets (GEMs) ของ Red Hat สิงคโปร์ บอกว่า เรื่องนี้ไม่ได้เป็นปัญหาแต่อย่างใด เพราะทั่วโลกไม่ได้พูดถึงว่า เราใช้โอเพนซอร์สในการพัฒนา แต่เรากำลังพูดถึงวิธีการขับเคลื่อน นวัตกรรมที่จะตอบโจทย์มากกว่า และการทำ digital tranfrom ที่ช้าไม่ได้และการที่ไม่ต้องมี user login ซึ่งหมายถึง การที่ลูกค้าเลือกใช้เทคโนโลยีอะไรแล้วติดเข้าระบบย้ายไปไหนก็ไม่ได้ แต่ Open innovation จะตอบปัญหาเหล่านี้ได้

Red Hat จึงเป็นผู้นำด้าน Open Source ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด ตั้งแต่ ปี 1993 ถึงตอนนี้ก็ 25 ปี ในปัจจุบัน มีรายได้อยู่ที่ 3 พันล้านเหรียญ ถือเป็นบริษัทที่เติบโตแบบต่อเนื่องเลยทีเดียว...

ติดความความเคลื่อนไหวของกิจกกรมของ OpenSource2day Magazine นิตยสารโอเพนซอร์สทูเดย์ ได้ที่ https://www.facebook.com/opensourcetoday 

Share this post

Submit to FacebookSubmit to TwitterSubmit to LinkedIn