ข่าวล่าสุด

เสวนาเชิงลึกในหัวข้อ “Closing the Skills Gap in Thailand: Shifting Gears to Electric Vehicles”
หมวด: ข่าว

เสวนาเชิงลึกในหัวข้อ “Closing the Skills Gap in Thailand: Shifting Gears to Electric Vehicles”

เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2566 ที่ผ่านมา แดสสอลท์ ซิสเต็มส์ (Euronext Paris: FR0014003TT8, DSY.PA) ร่วมมือกับสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย (EVAT) ภาคธุรกิจ ภาควิชาการและภาครัฐบาล ร่วมขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่การเป็นศูนย์กลางยานยนต์ระดับภูมิภาคที่แข็งแกร่ง หัวใจสำคัญในเป้าหมายการเปลี่ยนจากฐานการผลิตของประเทศไทยไปสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรม การวิจัยและพัฒนาที่เข้มข้นยิ่งขึ้น คือ บุคลากรที่มีทักษะสูงในด้าน R&D และเทคโนโลยีดิจิทัล ที่กำลังเป็นที่ต้องการของตลาดในการเป็นผู้นำความก้าวหน้าของเทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้า ด้วยความร่วมมือกับสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย...

ข่าว

ข่าวเทคโนโลยี

ข่าวประชาสัมพันธ์

Facebook Page

ข่าวประกาศ

เตือนผู้ประกอบการยานยนต์หยุดละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ หลังสหรัฐฯ คุมเข้มกฎหมาย UCA

ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน
 

เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 ที่ผ่านมา เตือนผู้ประกอบการยานยนต์หยุดละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ OCA ย้ำหากผู้ประกอบการเพิกเฉยอาจเสียโอกาสในการส่งออกไปยังสหรัฐฯ ด้านตำรวจ บก.ปอศ. แนะปฏิบัติตามกฎหมายลิขสิทธิ์ไทยก็เพียงพอที่จะหลีกเลี่ยงความเสี่ยงจากผลกระทบของกฎหมายว่าด้วยการแข่งขันทางธุรกิจที่ไม่เป็นธรรม (Unfair Competition Act - UCA)

 

The Open Computing Alliance (OCA) ซึ่งเป็นองค์กรระหว่างประเทศด้านทรัพย์สินทางปัญญา ได้ออกแถลงการณ์โดยมีเนื้อหาสำคัญเกี่ยวเนื่องกับการเคารพสิทธิด้านทรัพย์สินทางปัญญาในประเทศไทย และได้ปรับเปลี่ยนเป้าหมายไปที่กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน โดยจะกระตุ้นเตือนให้ผู้ประกอบการหันมาใส่ใจการบริหารจัดการสินทรัพย์ซอฟต์แวร์ภายในองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ในการตรวจค้นการใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ภายในองค์กรธุรกิจของไทยเมื่อปีที่ผ่านมา กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก. ปอศ.) พบว่ามีผู้ประกอบการในเครือธุรกิจรถยนต์จากประเทศญี่ปุ่น หรือ เป็นผู้รับจ้างผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในระบบ OEM (Original Equipment Manufacturer) จำนวนมาก ที่มีการใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งเป็นเป้าหมายของการบังคับใช้กฎหมาย UCA

 

มร. ไมเคิล มัดด์ เลขาธิการ OCA ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวเตือนผู้ผลิตและส่งออกในประเทศญี่ปุ่นและบริษัทลูกที่ทำกิจการอยู่ในประเทศจีน ไทย และทั่วภูมิภาคเอเชียให้ตระหนักและรับรู้ถึงการใช้กฎหมาย UCA ซึ่งมีข้อกำหนดให้ประเทศคู่ค้าจำเป็นต้องใช้ผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ที่ถูกกฎหมายในทุกขั้นตอนการประกอบธุรกิจ มิฉะนั้นจะเกิดความเสี่ยงต่อการส่งสินค้าไปจำหน่ายในตลาดสหรัฐฯ

 

“บริษัทรถยนต์จากประเทศญี่ปุ่นควรศึกษารายละเอียดของการบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้ เพื่อมิให้สูญเสียโอกาสทางการประกอบธุรกิจ เพราะไม่เพียงแต่บริษัทแม่ในประเทศญี่ปุ่นเท่านั้นที่จำต้องปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าว หากแต่บริษัทลูกที่ประกอบกิจการอยู่ในประเทศที่ 3 เช่น จีน หรือไทย ก็ได้รับผลกระทบจากกฎหมายฉบับนี้ด้วย ในปัจจุบันสหรัฐฯเป็นประเทศคู่ค้าหลักของญี่ปุ่น ด้วยมูลค่าการส่งออกสินค้าถึง 135,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี พ.ศ. 2555” มร. ไมเคิล มัดด์ กล่าว

 

เมื่อเร็วๆนี้ อัยการรัฐแคลิฟอร์เนียได้ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อดำเนินคดีกับบริษัทผู้ผลิตเสื้อผ้าในประเทศจีนและอินเดียฐานที่มีการใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ในการประกอบธุรกิจ ซึ่งภายใต้กรอบกฎหมาย UCA ถือว่าเป็นการฉกฉวยความได้เปรียบทางธุรกิจกับผู้ประกอบการอื่นๆที่ปฏิบัติตามกฎหมายลิขสิทธิ์ โดยทั้งสองบริษัทเป็นบริษัทสิ่งทอในจีนและอินเดียชื่อ Ningbo Beyond Home Textile และ Pratibha Syntex ตามลำดับ ตามรายงานของบีเอสเอ | พันธมิตรซอฟต์แวร์ (BSA | The Software Alliance) ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ทั่วโลกในปี พ.ศ.2554 มีมูลค่าราว 63,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยพบว่าประเทศจีนซึ่งมีภาคอุตสาหกรรมการผลิตที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์สูงถึง 77 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ยังพบว่าการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในประเทศอินโดนีเซียมีอัตราสูงถึง 86 เปอร์เซ็นต์ ประเทศเวียดนาม 81 เปอร์เซ็นต์ และในประเทศไทย 72 เปอร์เซ็นต์

 

“ศูนย์กลางการลงทุนด้านการผลิตและส่งออกไปยังสหรัฐฯของบริษัทญี่ปุ่นกำลังตกอยู่ในความเสี่ยง หากมิได้ตรวจสอบระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของตนว่าถูกต้องตามกฎหมายลิขสิทธิ์หรือไม่” มร. ไมเคิล มัดด์ กล่าว

 

กฎหมาย UCA กำลังเป็นประเด็นที่ถกกันอย่างกว้างขวางในกลุ่มของนักกฎหมายและแวดวงการค้าทั่วโลก หลายฝ่ายเชื่อว่าการบังคับใช้กฎหมาย UCA จะเกิดขึ้นอย่างจริงจังเพื่อสร้างความยุติธรรมในการแข่งขันระหว่างผู้ผลิตจากทั่วโลกและผู้ผลิตในสหรัฐฯ เนื่องจากแรงกดดันด้านเศรษฐกิจที่ตกต่ำในสหรัฐฯ และความพยายามของรัฐบาลกลางที่จะกระตุ้นอัตราการจ้างงาน ในการกล่าวรายงานของประธานาธิบดีบารัค โอบามา ต่อรัฐสภา เขาได้กล่าวถึงนโยบายของรัฐบาลที่จะให้การสนับสนุนการค้าระหว่างประเทศที่เป็นธรรมกับทุกฝ่าย โดยได้เน้นย้ำว่าเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องที่สินค้าส่งออกที่สำคัญของสหรัฐฯอันได้แก่ ภาพยนตร์ เพลง และซอฟต์แวร์ ยังคงถูกละเมิดลิขสิทธิ์โดยประเทศคู่ค้า ส่งผลให้ผู้ประกอบการในประเทศเหล่านั้นสามารถสร้างความได้เปรียบทางการค้าเหนือผู้ประกอบการในสหรัฐฯ ด้วยการทำผิดกฎหมาย ในประเทศไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติและกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ได้ร่วมมือกัน อย่างเข้มแข็งที่จะแจ้งเตือนให้ผู้ผลิตและส่งออกในประเทศตระหนักถึงผลกระทบจากกฎหมายการแข่งขันทางธุรกิจที่ไม่เป็นธรรม

 

“ในฐานะผู้บังคับใช้กฎหมาย ผมรู้สึกเป็นห่วงผู้ประกอบการไทย รวมถึงผู้ประกอบการต่างชาติที่มีฐานการผลิตอยู่ในประเทศไทย ดังนั้นองค์กรธุรกิจจึงต้องมีการเตรียมความพร้อมในการตรวจสอบระบบเทคโนโลยีสารสนเทศภายในองค์กรให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ของไทย ซึ่งก็เพียงพอที่จะปกป้องตนเองจากกฎหมายของทางการสหรัฐฯ” พ.ต.อ. ชัยณรงค์ เจริญไชยเนาว์ รองผู้บังคับการและโฆษก บก.ปอศ. กล่าว

 

“กฎหมาย UCA จะส่งเสริมความได้เปรียบทางการค้าให้กับผู้ผลิตและผู้ส่งออกที่ใช้ซอฟต์แวร์ที่ถูกกฎหมายในการทำธุรกิจ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว บริษัทใดก็ตามที่ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศไทยก็ถือว่าได้กระทำการอย่างพอเพียงแล้วที่จะอยู่ภายใต้กรอบกฎหมาย UCA และจะได้รับประโยชน์ในการแข่งขันทางธุรกิจและได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ” นางสาววิรามฤดี โมกขะเวส ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย บริษัท ติลลิกีแอนด์กิบบินส์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด กล่าว

 

อัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในประเทศไทยได้ลดลงจากประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ในปี พ.ศ. 2549 มาอยู่ที่ประมาณ 72 เปอร์เซ็นต์ในปี พ.ศ. 2554 ซึ่งเป็นอัตราการลดลงเร็วที่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียแปซิฟิก เป็นรองเพียงประเทศฮ่องกงเท่านั้น ซึ่งเป็นผลมาจากความร่วมมือของสำนักงานตำรวจแห่งชาติและหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องในการปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์และส่งเสริมการรับรู้ของสาธารณชนในเรื่องการเคารพสิทธิด้านทรัพย์สินทางปัญญาเป็นอย่างดี

Share this post

Submit to FacebookSubmit to TwitterSubmit to LinkedIn