ข่าวล่าสุด

เสวนาเชิงลึกในหัวข้อ “Closing the Skills Gap in Thailand: Shifting Gears to Electric Vehicles”
หมวด: ข่าว

เสวนาเชิงลึกในหัวข้อ “Closing the Skills Gap in Thailand: Shifting Gears to Electric Vehicles”

เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2566 ที่ผ่านมา แดสสอลท์ ซิสเต็มส์ (Euronext Paris: FR0014003TT8, DSY.PA) ร่วมมือกับสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย (EVAT) ภาคธุรกิจ ภาควิชาการและภาครัฐบาล ร่วมขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่การเป็นศูนย์กลางยานยนต์ระดับภูมิภาคที่แข็งแกร่ง หัวใจสำคัญในเป้าหมายการเปลี่ยนจากฐานการผลิตของประเทศไทยไปสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรม การวิจัยและพัฒนาที่เข้มข้นยิ่งขึ้น คือ บุคลากรที่มีทักษะสูงในด้าน R&D และเทคโนโลยีดิจิทัล ที่กำลังเป็นที่ต้องการของตลาดในการเป็นผู้นำความก้าวหน้าของเทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้า ด้วยความร่วมมือกับสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย...

ข่าว

ข่าวเทคโนโลยี

ข่าวประชาสัมพันธ์

Facebook Page

ข่าวประกาศ

ตำรวจไทยไม่เลือกหน้า ลุยบุกหนักอินเตอร์เน็ตคาเฟ่ภาคตะวันออกใช้ซอฟต์แวร์เถื่อน

ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน
 

เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2555 สำนักงานตำรวจแห่งชาติลุยภาคตะวันออกกวาดจับร้านอินเตอร์เน็ตคาเฟ่ใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ ล่าสุดล้อมจับและดำเนินคดีเจ้าของร้านเน็ตทั้งในชลบุรีและจันทบุรี ตะลึงมูลค่าความเสียหายลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ร่วมล้านบาท เตือนจับเพิ่มอีกแน่ทั่วทั้งประเทศหากยังไม่หยุดละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์

กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ หรือ บก.ปอศ. เมื่อเร็วๆนี้ นำกำลังเจ้าหน้าพร้อมหมายค้นเข้าตรวจร้านชอบเฮฮา ซึ่งเป็นสถานประกอบการอินเตอร์เน็ตคาเฟ่ดังกลางเมืองชลบุรี ตั้งอยู่เลขที่ 406/17 เทศบาลตำบลแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ซึ่งในขณะที่เข้าทำการตรวจค้นมีลูกค้า ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักเรียนนักศึกษาเข้าใช้บริการเป็นจำนวนมาก อีกรายที่ถูกจับดำเนินคดีโดย บก.ปอศ. เป็นร้านอินเตอร์เน็ตคาเฟ่ชื่อร้านเรดบันนี่ ตั้งอยู่เลขที่ 69/2 ตำบลคลองขุด อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี โดยพบเครื่องคอมพิวเตอร์รวมกันทั้งสองแห่งจำนวน 76 เครื่อง มีการลักลอบลงโปรแกรมเถื่อนเพื่อให้บริการกับลูกค้า โดยมีมูลค่าความเสียหายประมาณ 910,000 บาท ทั้งนี้เจ้าของร้านจะถูกดำเนินคดีในชั้นศาลต่อไป

จากการตรวจค้นสถานประกอบการทั้งสองแห่ง พบว่ามีการลงโปรแกรมละเมิดลิขสิทธิ์เช่น Microsoft Window 7 Microsoft Office Microsoft Window XP Professional และ Microsoft Office Visio Professional โดยมิได้หวาดหวั่นต่อกฎหมายบ้านเมือง ซึ่งมีข้อบังคับและบทลงโทษในเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์อย่างชัดเจน เจ้าหน้าที่ยังเปิดเผยว่า หลังจากที่ได้มีการบุกตรวจค้นและจับกุมการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ที่ร้านติ๊กแอนด์แต๊บสาขาที่ 1 ตั้งอยู่เลขที่ 1/5 ถนนศรีเทวา ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด และสาขา 2 ตั้งอยู่เลขที่ 146 ถนนรณชัยชาญ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด พบเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีการลงโปรแกรมละเมิดลิขสิทธิ์ของบริษัทไมโครซอฟท์จำนวนรวม 65 เครื่อง และได้มีการถอนคำร้องทุกข์จากเจ้าหน้าที่ตำรวจ เนื่องจากเจ้าของสถานประกอบการทั้งสองแห่งได้มีการเจรจาไกล่เกลี่ยกับทางเจ้าทุกข์คือ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) โดยแสดงความยินยอมที่จะจ่ายค่าเช่าสิทธิ์การใช้งานซอฟต์แวร์ทั้งหมดที่ถูกละเมิด ในอัตราที่กำหนดไว้ภายใต้โครงการสนับสนุนสถานประกอบการร้านอินเตอร์เน็ตของบริษัทไมโครซอฟท์ เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 130,607 บาท และยินยอมลงประกาศในหน้าหนังสือพิมพ์ เพื่อสนับสนุนให้มีการใช้ซอฟต์แวร์ที่ถูกลิขสิทธิ์ในภาคธุรกิจทุกส่วนของประเทศไทย

บก.ปอศ. ได้มีการออกจดหมายเตือนสถานประกอบการอินเตอร์เน็ตคาเฟ่ทั่วประเทศให้หลีกเลี่ยงการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ โดยจะมีการเข้าตรวจค้นแบบปูพรมโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจในทุกภาคของประเทศ และหากพบว่ามีการละเมิดลิขสิทธิ์ ผู้กระทำผิดจะได้รับโทษภายใต้พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ ปี พ.ศ. 2537 ว่าด้วยการละเมิดลิขสิทธิ์โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นการขาย การถือครองเพื่อขาย หรือการนำเสนอขายโปรแกรมเหล่านั้น โดยมีโทษจำคุกไม่เกิน 4 ปี หรือปรับไม่เกิน 800,000 บาท และศาลอาจมีคำสั่งให้ปิดกิจการของผู้กระทำความผิดได้

“การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียรายได้จากภาษีอากรในแต่ละปีเป็นจำนวนมหาศาล และยังเป็นการทำลายภาพลักษณ์ของประเทศไทยในสายตาของต่างประเทศ ตำรวจได้รับความกดดันจากหลายๆฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการเร่งปราบปรามซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ เนื่องจากประเทศไทยกำลังใช้ความพยายามอย่างเต็มที่ในการสร้างความน่าเชื่อถือในสายตาของประเทศคู่ค้าหลักอย่างสหรัฐอเมริกา เพื่อให้สามารถหลุดจากสถานะประเทศที่อยู่ในข่ายที่ต้องจับตามองเป็นพิเศษ (PWL)” พ.ต.อ. ชัยณรงค์ เจริญไชยเนาว์ รองผู้บังคับการกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ กล่าว

“ผู้บริโภคมิได้ตระหนักว่า การกระทำดังกล่าวถือเสมือนการเป็นมิจฉาชีพที่ทำการขโมยทรัพย์สินของผู้อื่น ซึ่งบางครั้งซอฟต์แวร์ที่นำไปใช้เป็นการผลิตจากฝีมือของคนไทยด้วยกันนั่นเอง ทั้งนี้ ผู้จำหน่ายซอฟต์แวร์เถื่อนทราบดีว่า เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายและมีบทลงโทษอย่างชัดเจนแต่กลับเพิกเฉยเสีย” พ.ต.อ. ชัยณรงค์ กล่าวเพิ่มเติม

ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ประเทศสมาชิกจะต้องจัดการกับปัญหาการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาได้ดีกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และในส่วนของ บก.ปอศ. เอง ก็จะมุ่งเน้นในการปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ โดยเมื่อไม่นานมานี้ กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ได้ลงนามความร่วมมือร่วมกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อจัดตั้งศูนย์ปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาในพื้นที่กรุงเทพฯ และต่างจังหวัด เพื่อทำหน้าที่ประสานการปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา และส่งเสริมความร่วมมือระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับภาคเอกชนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อให้การละเมิดในพื้นที่เฝ้าระวังพิเศษ (พื้นที่สีแดง) และพื้นที่ต้องเฝ้าระวัง (พื้นที่สีเหลือง) ลดน้อยลง

Share this post

Submit to FacebookSubmit to TwitterSubmit to LinkedIn