บทความใหม่

กิจกรรมที่กำลังมาถึง

ผู้ส่งออกไก่รายใหญ่ถูกตรวจค้นข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์มูลค่า 7.9 ล้านบาท

ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน
 

เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555 ที่ผ่านมา ตำรวจเข้าตรวจค้นผู้ประกอบการฟาร์มเลี้ยงและเพาะพันธุ์ไก่แห่งหนึ่งในนิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออก พบคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์จำนวน 167 เครื่อง คิดเป็นมูลค่าราว 7.9 ล้านบาท เป็นคดีละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ที่มีมูลค่าความเสียหายสูงเป็นอันดับที่สองของปีนี้ รองจากคดีของสตูดิโอแอนิเมชั่นในกรุงเทพฯ ที่ถูกตรวจค้นไปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

 

บริษัทผู้ผลิตและส่งออกเนื้อไก่และผลิตภัณฑ์จากเนื้อไก่รายใหญ่ของประเทศแห่งนี้ ใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ของออโต้เดสก์และไมโครซอฟท์ ทั้งในสำนักงานและโรงงาน รายรับของบริษัทแห่งนี้ในปีที่ผ่านมาสูงถึง 3,770 ล้านบาท โดยส่วนมากมาจากการส่งออกผลิตภัณฑ์ไปยังตลาดยุโรปและญี่ปุ่น

“แม้จะมีชื่อเสียงโด่งดังและฐานะทางการเงินดี แต่บริษัทแห่งนี้กลับเลือกทางผิดโดยใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ในการดำเนินกิจการ” พ.ต.อ. ชัยณรงค์ เจริญไชยเนาว์ รองผู้บังคับการและโฆษกของ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก. ปอศ.) กล่าว

เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ตำรวจเข้าตรวจค้นสตูดิโอแอนิเมชั่นแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ และพบคอมพิวเตอร์ 30 เครื่อง ที่ติดตั้งซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ของออโต้เดสก์ มูลค่า 9.09 ล้านบาท นับเป็นคดีละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ที่มีมูลค่าความเสียหายสูงที่สุดของปีนี้ พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของไทยคุ้มครองลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์และนวัตกรรมของผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ ซึ่งรวมถึงผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ชาวไทยด้วย องค์กรธุรกิจที่ผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ต้องชดเชยค่าเสียหายให้แก่เจ้าของลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการด้านกฎหมาย ในขณะที่ธุรกิจต้องหยุดชะงัก นอกจากนี้ ผู้บริหารของบริษัทอาจต้องรับผิดเป็นการส่วนตัวฐานละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในที่ทำงานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์


รองผู้บังคับการ บก. ปอศ. กล่าวว่า "พบมีการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์สูงในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนอะไหล่ โดยยกตัวอย่างการเข้าตรวจค้นโรงงานผลิตตัวถังรถแห่งหนึ่งในจังหวัดขอนแก่นเมื่อเร็วๆ นี้ ตำรวจพบคอมพิวเตอร์ 68 เครื่อง ติดตั้งซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์คิดเป็นมูลค่า 4.97 ล้านบาท โดยเป็นซอฟต์แวร์ของไมโครซอฟท์ ออโต้เดสก์ และไทยซอฟท์แวร์เอ็นเตอร์ไพรส์"

 

“เราพบว่าแม้โรงงานแห่งนี้จะได้รับประกาศนียบัตรรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรมไอเอสโอ 9001:2008 แต่ยังละเลยการตรวจสอบการใช้สินทรัพย์ซอฟต์แวร์อย่างสม่ำเสมอ” พ.ต.อ. ชัยณรงค์ กล่าว

 

บก. ปอศ. ประกาศเจตนารมณ์ที่จะเป็นผู้นำในการลดอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในภูมิภาคเอเชีย และได้ดำเนินการปราบปรามองค์กรธุรกิจที่ถูกร้องเรียนหรือต้องสงสัยว่าละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์อย่างจริงจัง “เรายังคงพุ่งเป้าไปที่องค์กรธุรกิจ อาทิ บริษัทแอนิเมชั่น โรงงานผลิตอาหาร เส้นใย รถยนต์ ชิ้นส่วนอะไหล่ และอิเล็กทรอนิกส์ ที่ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมทั่วประเทศ” พ.ต.อ. ชัยณรงค์ กล่าว

 

“ขณะเดียวกัน เราได้ให้ความรู้แก่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทั้งในองค์กรและผู้ใช้ทั่วไปถึงการบริหารจัดการสินทรัพย์ประเภทซอฟต์แวร์และการปฏิบัติให้สอดคล้องกับกฎหมาย”

 

ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา อัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์บนเครื่องพีซีลดลงจากร้อยละ 80 ในปี 2549 เหลือร้อยละ 72 ในปี 2554 ตามรายงานการศึกษาเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ทั่วโลกของไอดีซี

 

เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา บก. ปอศ. ได้ทำงานร่วมหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เช่น กรมทรัพย์สินทางปัญญา อย่างใกล้ชิดโดยมุ่งหวังให้ประเทศไทยหลุดพ้นจากสถานะประเทศที่ต้องจับตามองเป็นพิเศษ (Priority Watch List หรือ PWL) ตามรายงานพิเศษของสำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐมาตรา 301 ซึ่งจะประเมินและจัดอันดับประเทศคู้ค้าแต่ละรายในเรื่องการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาและแนวทางปฏิบัติว่าด้วยการเข้าถึงตลาด (Market Access Practice) เป็นประจำทุกปี

 

Share this post

Submit to FacebookSubmit to TwitterSubmit to LinkedIn