บทความใหม่

กิจกรรมที่กำลังมาถึง

OpenSource2day ได้รับรายงานถึง ผลสำรวจ Red Hat Global Customer Tech Outlook 2018

ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน
 

OpenSource2day ได้รับรายงานถึง ผลสำรวจ Red Hat Global Customer Tech Outlook 2018: ที่ระบุว่า องค์กรต่างๆ ลงทุนมากขึ้นในการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับระบบไอทีที่มีอยู่เดิมและกำลังเพิ่มบทบาทในการใช้ระบบคลาวด์ การเริ่มต้นปีใหม่ของทุกปีคือเวลาที่แผนกไอทีต่างๆ ในทุกอุตสาหกรรมไม่ว่าจะเป็นองค์กรขนาดเล็กหรือใหญ่ใช้เวลาไตร่ตรองเรื่องต่างๆ แต่สำหรับเร้ดแฮท การเริ่มต้นปีหมายถึงเวลาที่เราจะได้รับฟังความคิดเห็นจากลูกค้าของเราโดยตรง เกี่ยวกับการจัดลำดับสิ่งที่พวกเขาให้ความสำคัญในการทำธุรกิจในปีใหม่ที่มาถึง เราได้ทำการสำรวจลูกค้าของเร้ดแฮทมากกว่า 400 รายทั่วโลกเกี่ยวกับการจัดลำดับความสำคัญทางธุรกิจในปี 2561 ประกอบด้วย อะไรคือความท้าทายแรกๆ, การจัดสรรงบประมาณ, กลยุทธ์การใช้ระบบคลาวด์ และการวางแผนด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น

ผลสำรวจของปีที่ผ่านมาพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่กำลังเปลี่ยนแปลงองค์กรของตนสู่ระบบดิจิทัล และคาดหวังที่จะลงทุนกับโครงสร้างพื้นฐานไอทีและแอปพลิเคชั่นที่ทันสมัย สำหรับผลสำรวจ Red Hat Global Customer Tech Outlook 2018 พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยจากปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ตัวเลขจากผลสำรวจบางอย่างชี้ให้เห็นว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดที่จะทำสิ่งต่างๆ มากขึ้นกับการลงทุนด้านไอทีที่ทำอยู่แล้ว ผู้ตอบแบบสอบถามบางส่วนยกตัวอย่างและขยายความให้เห็นถึงบทบาทของระบบคลาวด์ที่พวกเขาริเริ่มนำมาใช้ในองค์กร


ผลสำรวจที่น่าสนใจจาก Red Hat Global Customer Tech Outlook 2018 การใช้จ่ายด้านไอทีกำลังเปลี่ยนไป: การใช้จ่ายด้านไอทีในปี 2560 เน้นการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับระบบไอทีที่มีอยู่เดิม แต่ในปี 2561 นี้ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่กำลังวางแผนใช้งบประมาณด้านไอทีมากขึ้นในด้านต่างๆ คือ โครงสร้างพื้นฐานและบริการต่างๆ บนระบบคลาวด์ (36%), การบูรณาการดาต้าและแอปพลิเคชั่นต่างๆ เข้าด้วยกัน (76%) และการพัฒนาและนำแอปพลิเคชั่นที่ทันสมัยมาใช้ (30%)

คาดการณ์ว่าจะมีการใช้ระบบคลาวด์มากขึ้นอย่างต่อเนื่องและเติบโตเต็มที่ในปี 2561: ผลสำรวจออกมาในลักษณะเดียวกับผลสำรวจของปี 2560: สำหรับผลสำรวจปี 2561 ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญมากที่สุดในการใช้เงินลงทุนกับโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ (36%) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นไฮบริดและมัลติคลาวด์ และองค์กรส่วนใหญ่ (61%) ระบุว่ากลยุทธ์โครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ของตนใช้ไฮบริดคลาวด์ แตกต่างจากผลสำรวจปีที่ผ่านมาซึ่งระบุว่าเป็นไฮบริดคลาวด์ (30%) และไพรเวทคลาวด์ (38%)

แม้ไฮบริดคลาวด์เป็นกลยุทธ์ที่ร้อนแรงในเวลานี้ แต่ผู้ตอบแบบสอบถามบางส่วนก้าวไกลกว่าการใช้ไฮบริดคลาวด์อย่างเดียว โดยการเคลื่อนย้ายเวิร์กโหลดไปทำงานบนระบบคลาวด์มากกว่าหนึ่งระบบควบคู่กันไป ใช้กลยุทธ์มัลติคลาวด์กับแอปพลิเคชั่นต่างๆ ของตน องค์กรที่ตอบแบบสอบถามประมาณ 37% กำลังมุ่งหน้าสู่การใช้มัลติคลาวด์ ทั้งที่กำลังใช้งานอยู่ และกำลังวางแผนที่จะใช้โครงสร้างพื้นฐานมัลติคลาวด์ในปี 2561

การลงทุนปรับระบบไอทีที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยขึ้นยังคงเป็นความท้าทายและเป็นสิ่งที่องค์กรให้ความสำคัญเป็นลำดับแรกๆ: ปีที่ผ่านมา ผลสำรวจของเราระบุว่าองค์กรส่วนใหญ่มุ่งมั่นที่จะจัดการกับปัญหาการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัล และผลสำรวจปีนี้สิ่งที่ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนมากให้ความสำคัญอย่างหนึ่งคือการจัดการกับความท้าทายด้านการลงทุนปรับระบบไอทีที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งผู้ตอบแบบสอบถาม 42% ได้จัดอันดับความท้าทายนี้เป็นลำดับแรกๆ ในปี 2561 สำหรับความท้าทายอื่นๆ ที่ได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในลำดับแรกๆ ประกอบด้วย การเพิ่มประสิทธิภาพด้านความปลอดภัย (47%), กระบวนการอัตโนมัติ (36%) และ การบูรณาการดาต้า กระบวนการ และแอปพลิเคชั่นต่างๆ (26%) นอกจากนี้ผู้ตอบแบบสอบถาม 31% เห็นว่าการปรับระบบไอทีที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยขึ้นเป็นความสำคัญที่ต้องสนับสนุนด้านการเงินลำดับแรกๆ ในปีนี้

ระหว่างที่เราตรวจสอบผลสำรวจต่างๆ มีข้อมูลบางอย่างที่สร้างความประหลาดใจให้เรา ดังนี้

ปรับให้ทันสมัยแล้วค่อยเปลี่ยนแปลง -- หรือเรียกการปรับเปลี่ยนนี้ด้วยชื่อใหม่

ทุกคนต่างพูดถึงการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัล แต่มีคำถามว่าองค์กรส่วนมากได้เริ่มลงมือทำหรือยัง อย่างไรก็ตาม เป็นเรื่องน่าประหลาดใจว่า ข้อมูลที่เราสำรวจแสดงให้เห็นว่ามีผู้ตอบแบบสอบถามเพียง 19% เท่านั้นที่วางแผนจะลงมือเปลี่ยนแปลงสู่ระบบดิจิทัลในปีนี้ จากผลสำรวจที่ระบุว่า "การปรับระบบไอทีเดิมให้ทันสมัย" ยังคงเป็นหนึ่งในความท้าทายลำดับแรกๆ (42%) เราจึงเชื่อว่าผู้ที่จะเปลี่ยนสู่ระบบดิจิทัลในปีนี้ที่มีเพียง 19% นั้นแสดงให้เห็นว่าผู้ตอบแบบสอบถามกำลังมุ่งให้ความสำคัญกับการเพิ่มประสิทธิภาพระบบไอทีที่มีอยู่เดิมและสร้างโครงสร้างพื้นฐานเดิมให้มีความคล่องตัวมากขึ้น ก่อนที่จะเคลื่อนสู่การเปลี่ยนเป็นระบบดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ เราเห็นความชัดเจนที่องค์กรต่างๆ กำลังต่อจิ๊กซอว์เพื่อเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัล (building blocks of digital transformation) ด้วยการลงทุนเพื่อควบรวมระบบต่างๆ ให้ทำงานด้วยกัน ลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ และแอปพลิเคชั่นใหม่ๆ ซึ่งอาจเป็นข้อบ่งชี้ที่ชัดเจนว่านี่คือวิธีการง่ายๆ ที่กลุ่มลูกค้าองค์กรกำลังให้บริการที่ทันสมัยมากขึ้นในขณะนี้ โดยไม่จำเป็นต้องใช้การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในคราวเดียว (transformation tag)

เทคโนโลยีที่ใหม่ๆ ก็ยังคงสถานะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่เหมือนเดิม ยังไม่ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย: ผู้ตอบแบบสอบถาม 50% ไม่มีแผนที่จะศึกษาข้อมูลหรือใช้งานโซลูชั่นที่เป็นปัญญาประดิษฐ์ (AI) หรือแมชชีนเลิร์นนิ่ง (ML) ในปีนี้ ผู้ตอบแบบสอบถามมากกว่า 40% กล่าวถึงอินเทอร์เน็ตออฟธิงค์ (IoT) ในทำนองเดียวกัน ในขณะที่องค์กรด้านไอทีส่วนใหญ่ยังไม่จัดให้เทคโนโลยีเกิดใหม่เหล่านี้มีความสำคัญในปี 2561 อย่างไรก็ตาม ในฐานะที่เร้ดแฮทเป็นต้นทางของนวัตกรรมด้านโอเพนซอร์สระดับแนวหน้าในเรื่องเหล่านี้ เราคาดหวังว่าในการสำรวจคราวต่อไป เราจะได้เห็นว่ามีองค์กรต่างๆ มีแผนการนำเทคโนโลยีเกิดใหม่เหล่านี้ไปใช้งานตามความเหมาะสม

เราเข้าสู่ปี 2561 และสำหรับองค์กรหลายแห่ง กลยุทธ์คลาวด์ยังคงมีความจำเป็น

หนึ่งในสามของผู้ตอบแบบสอบถามให้ข้อมูลว่าองค์กรของตนไม่ได้กำหนดกลยุทธ์ด้านคลาวด์ไว้ ซึ่งอาจเป็นสิ่งบ่งชี้ว่าลูกค้าองค์กรยังคงจับตามองลักษณะของระบบคลาวด์ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาอย่างระมัดระวัง สำหรับผู้นำด้านไอทีที่ได้กำหนดกลยุทธ์ด้านคลาว์ขององค์กรไว้แล้วอาจต้องสื่อสารกลยุทธ์นีัให้ชัดเจนไปยังทุกส่วนขององค์กร

เราได้รวบรวมข้อมูลผลการสำรวจ Red Hat Global Customer Tech Outlook 2018 ไว้เป็นอินโฟกราฟฟิก ตามด้านล่างนี้ หรือสามารถดาวน์โหลดได้ที่ https://www.redhat.com/en/resources/global-customer-tech-outlook-2018-infographic


วิธีการสำรวจ

เร้ดแฮททำการสำรวจทางออนไลน์เมื่อเดือนกันยายน 2560 โดยใช้ TechValidate กลุ่มลูกค้าของเร้ดแฮทเกี่ยวกับการจัดลำดับความสำคัญทางเทคโนโลยีและการเปลี่ยนแปลงเชิงลึกในปี 2561 ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นตัวแทนองค์กรจากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ยุโรป ตะวันออกกลาง แอฟริกา ละตินอเมริกา และอเมริกาเหนือ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มาจากองค์กรขนาดกลางและขนาดใหญ่ (53.5%) จากองค์กรขนาดเล็ก (16%) เป็นบริษัทในกลุ่ม Global 500 (10.9%) สถาบันการศึกษา (4.9%) มลรัฐและองค์กรท้องถิ่นภาครัฐ (4%) บริษัทในกลุ่ม Fortune 500 (4%) บริษัทในกลุ่ม S&P 500 (2%) องค์กรไม่แสวงผลกำไร, สมาชิกองค์กรต่างๆ และมูลนิธิ (2%) และรัฐบาลกลาง (1.8%) ผู้ตอบแบบสอบถามอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ คือ อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์, ฮาร์ดแวร์ และบริการคอมพิวเตอร์ (19.2%) กลุ่มบริการด้านการเงิน (10.2%) กลุ่มโทรคมนาคม (9.2%) ภาครัฐ (7.3%) ภาคสาธารณสุข (6.2%) สถาบันการศึกษา (6%) พลังงาน และสาธารณูปโภค (5.7%) ค้าปลีก (5%) สื่อและความบันเทิง (4%) การบินและการป้องกันประเทศ (3.8%) อุตสาหกรรมการผลิต (3.6%) อิเล็กทรอนิกส์ (3.3%) บริการด้านการขนส่ง (3.1%) ยานยนต์และการขนส่ง (2.6%) การบริการในระดับมืออาชีพ (2.6%) องค์กรที่ไม่หวังผลกำไร และมูลนิธิต่างๆ (2.4%) ผลิตภัณฑ์และบริการสำหรับผู้บริโภค (1.7%) ผู้ทำหน้าที่แจกจ่ายในอุตสาหกรรมอาหารและค้าส่ง (.007%) ผลิตภัณฑ์ และบริการด้านความปลอดภัย (.007%) การเกษตร (.004%) เคมีภัณฑ์ (.004%) ก่อสร้าง (.004%) บริการ และอุปกรณ์ด้านสิ่งแวดล้อม (.004%) โลหะ และเหมืองแร่ (.004%) วิศวกรรม (.002%) และอสังหาริมทรัพย์ (.002%)


หมายเหตุ: ตัวเลขอาจรวมแล้วไม่เต็ม 100% เนื่องจากมีการปัดเศษ

Share this post

Submit to FacebookSubmit to TwitterSubmit to LinkedIn